เกริ่นนำ

........สวัสดีครับ ท่านผู้ที่เข้าชม Blogger ของผม ซึ้งเป็นการเรียนประกอบวิชา ว่าด้วยวิชา ความเป็นครู ซึ้งวิชานี้เป็นวิชาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยผสมผสานสื่อต่างๆเข้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม มีความสะดวกสบาย ทั้งที่เป็นบทความและรูปภาพ ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกลมาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ
หวังว่า Blogger นี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาไม่มากก็น้อย

บทที่ 6




การสร้างศรัทธาในวิชาชีพครู

คำว่า "ศรัทธา" เราได้ยิน เราได้คุ้นกันมาตั้งแต่เล็ก จนกระทั่งมั่นใจว่าเราเข้าใจ แต่เอาเข้าจริง ๆ เราเข้าใจผิดกันเสียเป็นส่วนมาก คำว่า "ศรัทธา" ในพระพุทธศาสนา ถ้าจะแปลกันให้ชัด ๆ แปลว่า "ความเชื่อโดยปราศจากความสงสัย ในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" หรือเรียกให้ชัดลงไปว่า "ตถาคตโพธิสัทธา"
การที่ใครจะเชื่อจนหมดสงสัย ก็แสดงว่าไม่ใช่ความเชื่อตาม ๆ กันมา แต่เป็นความเชื่อที่ได้เจาะลึกจนกระทั่งเข้าใจเหตุผลนั้นแล้ว เพราะฉะนั้น แค่คำว่า "ศรัทธา" คำเดียว ก็เป็นเรื่องที่เราจะดูเบาไม่ได้เสียแล้ว
ในเบื้องต้นนั้น คนที่จะมี "ศรัทธา" คือความเชื่อเพราะหมดสงสัยในการตรัสรู้ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องประกอบเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. ได้ค้นคว้าเจาะลึกในเรื่องราวประวัติการสร้างบารมีของพระพุทธองค์มามากพอสมควร
๒. ได้ศึกษาขั้นตอนในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอย่างชัดเจน
ในทางปฏิบัติ ถ้าถามว่าคนที่จะเข้าใจเรื่องนี้ทำได้ยากไหม ก็คงไม่ง่ายนัก เพราะคนที่จะเข้าใจได้จริงนั้น นอกจากศึกษาพุทธประวัติหรือประวัติของพระองค์มาอย่างละเอียดแล้ว ยังจะต้อง ศึกษาเรื่องสมาธิมาอย่างลึกซึ้ง และเคยทดลองฝึกสมาธิจนกระทั่งได้รับผลการปฏิบัติในระดับใด ระดับหนึ่งแล้ว จึงจะหมดสงสัย
ถ้าคน ๆ นั้นยังไม่เคยฝึกสมาธิ ก็ยากที่จะเข้าใจขั้นตอนการตรัสรู้ หรือแม้เคยฝึกมาบ้าง แต่ยังไม่ถึงกับมีประสบการณ์ภายในที่น่าพอใจ เช่น ยังไม่เคยเจอความสว่างจริง ๆ จัง ๆ ยังไม่เคยหาศูนย์กลางกายได้ ยังไม่เคยเห็นปฐมมรรคว่าเป็นอย่างไร หรือยังไม่เข้าถึงพระธรรมกาย ว่าเป็นอย่างไร ถ้าอย่างนั้น ความเข้าใจชัดเจนในเรื่องของการตรัสรู้ก็คงจะยาก
ด้วยเหตุนี้ คำว่า ศรัทธา ซึ่งเป็นธรรมะเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องที่ดูเบาไม่ได้ เพราะถ้าหากเพียงแต่อ่านพุทธประวัติผ่าน ๆ ไม่ได้เจาะลึกเหตุผลการสร้างบารมี ๑๐ ทัศ ไม่ได้นั่งสมาธิจนกระทั่งได้สัมผัสกับธรรมะภายใน บุคคลเหล่านี้ก็ยากที่จะรู้จักคำว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศรัทธาตัวจริงที่เรียกว่า "ตถาคตโพธิสัทธา"
และเพราะญาติโยมที่ตั้งใจ จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไม่ค่อยจะเข้าใจคำว่า ศรัทธา ซึ่งเป็นธรรมะเบื้องต้นที่จะบรรลุธรรมต่อไปข้างหน้า จึงทำให้ความทุ่มเทใน ๓ เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นมา

๑. ความทุ่มเทที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เกิดขึ้นมา
๒. ความทุ่มเทที่จะรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้ถูกทำลายก็หย่อนลงไป ไม่เกิดขึ้นมา
๓. ความทุ่มเทที่จะป้องกันและรักษาศาสนสถานต่าง ๆ ตั้งแต่โบสถ์ วิหาร ให้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ไม่เกิดขึ้นมา

ความทุ่มเททั้ง ๓ เรื่องนี้ เป็นความทุ่มเทของคนส่วนใหญ่ ลองมาพิจารณาดูว่า แค่ความทุ่มเทที่จะรักษาพระพุทธรูปประจำวัดให้เป็นที่เคารพสักการะของคนทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ในย่านนั้น ถ้าหากไม่มีศรัทธาในระดับที่ลงมือนั่งสมาธิตามพระองค์ไป ก็ยากจะมีความทุ่มเท ขึ้นมา แม้แต่โต๊ะหมู่ หรือหิ้งพระที่บ้านตัวเอง เมื่อถึงวันคล้ายวันเกิดหรือวันปีใหม่ ก็จัดดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาอย่างดี แต่หลังจากทำบุญวันนั้นแล้ว ดอกไม้ก็เสียบอยู่ในแจกันนั่นแหละ แล้วก็ปล่อยทิ้งเอาไว้ เริ่มตั้งแต่ก้านที่แช่น้ำในแจกันก็เน่า ยุงก็ลงไปไข่ในแจกันนั้น ลูกน้ำก็เกิดอยู่ในแจกัน จนกลายเป็นยุงเต็มบ้าน ผ่านไปแรมเดือนแรมปี แจกันก็ยังตั้งอยู่ที่หิ้งพระ เห็นแต่ดอกไม้แห้ง ๆ ก้านเน่า ๆ อยู่ที่หิ้งพระ อยู่ที่โต๊ะหมู่ตามเดิม จนกระทั่งครบวันเกิดอีกที หรือปีใหม่อีกที ก็ค่อยไปจัดโต๊ะหมู่บูชาใหม่ แล้วก็ไปทำบุญอีกที ดอกไม้ชาวพุทธคงทนเหลือเกิน ช่อเดียว ดอกเดียวบูชาได้ตลอดปี บูชาตั้งแต่สดจนกระทั่งเน่า จากเน่าแล้วก็แห้ง
ทำไมเป็นอย่างนี้ ก็เพราะว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคน ๆ นั้น ยังไม่ถึงระดับที่ลงมือ ศึกษาและนั่งสมาธิจนกระทั่งสิ้นสงสัย ในการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์
การที่เราศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น ก็เพราะว่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตาทวด นับถือกันมา ก็เลยนับถือตาม ๆ กันไป ส่วนว่าพระพุทธศาสนาจะดีจริงแค่ไหน อย่างไร ก็ไม่เคยศึกษากันอย่างจริงจัง อาการหิ้งพระร้างที่ยกตัวอย่างมานี้จึงเกิดขึ้นให้เห็น
เมื่อหิ้งพระที่บ้านยังร้าง ก็ไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมวัดร้างในประเทศไทยจึงมีเพิ่มขึ้นทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี อย่าไปโทษใคร ต้องโทษว่าชาวพุทธเองไม่ตั้งใจศึกษาหาความรู้ในศาสนาของ ตัวเอง และเราก็เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในนั้นด้วย เพราะฉะนั้น วันนี้รู้แล้วก็ขอให้ศึกษา และปฏิบัติธรรมให้เต็มที่ อย่างน้อยที่สุดก็รู้ในระดับ ที่สำนึกตัวเองได้ว่า เราผิดพลาดไป แต่ว่าเราจะต้องทำอย่างไรศรัทธาจึงจะเพิ่มพูนเต็มที่ทั้งในระดับของการนั่งสมาธิ และระดับ ของการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจเหตุผล จนลงมือปฏิบัติธรรมตามพระพุทธองค์ไป นี่ก็เป็นศรัทธาที่ต้องใช้การฝึกฝน ให้เกิดความสามารถอีกระดับหนึ่ง
อุปมาเหมือนหัวรถจักรกับขบวนรถไฟ หัวรถจักรที่ใช้ลากขบวนรถไฟต้องมีแรงมากพอจะขับเคลื่อนตัวเอง และมีแรงมากพอจะดึงขบวนรถไฟทั้งขบวนให้วิ่งตามไปด้วย ถ้าหัวรถจักรมีแรงขับเคลื่อนน้อย ก็ขับเคลื่อนไปได้เฉพาะการเคลื่อนที่ของตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถดึงขบวนรถไฟไปได้ ถ้าหัวรถจักรนั้นออกแบบก่อสร้างมาอย่างดี ให้มีแรงขับเคลื่อนมาก ก็สามารถดึงขบวนรถไฟ ทั้งขบวนไปได้ แต่ในบรรดาหัวรถจักรที่มีกำลังมาก ก็ยังมีกำลังลากแบ่งเป็นหลายระดับ บาง ประเภทดึงรถไฟได้ขบวนเล็ก ขบวนกลาง ขบวนใหญ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับพลังขับเคลื่อนของหัวรถจักรนั้น
ศรัทธาของคนเราก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่ตั้งใจฝึกสมาธิให้เต็มที่ อย่าว่าแต่มีพลังไปชวนพ่อแม่ ลุงป้า น้าอา ครูอาจารย์ หรือผู้มีพระคุณ ให้เกิดความศรัทธาได้เลย แม้แต่ศรัทธาของตัวเองก็ยังไม่แน่ว่าจะฉุดดึงตัวเองไปได้
ดังนั้น คนที่จะมีศรัทธาไปชักชวนให้คนอื่น ๆ ทำความดีได้ ก็ต้องตั้งใจนั่งสมาธิให้มาก ๆ ถ้ายังไม่เข้าถึงพระธรรมกายในตัว ก็ยากที่จะเข้าใจการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างชัดเจน และยากที่จะไปฉุดดึงคนอื่น ๆ ให้มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมตามมา
เพราะฉะนั้น เราต้องเริ่มที่ศรัทธาของตัวเราเองก่อน ต้องพยายามรักษาอารมณ์ให้ดีในแต่ละวัน ไม่ให้ไปหงุดหงิดใครได้ง่าย ๆ เพราะคนเราที่อยู่ด้วยกันนั้น ทั้งเขาและเราก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ เพราะยังไม่หมดกิเลสด้วยกันทั้งคู่ โอกาสที่จะทำให้เกิดความหงุดหงิดต่อกันก็เกิดขึ้นได้
นอกจากบังคับตัวเองให้ดี ที่จะไม่ไปทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร ที่จะไม่ไปกระทบกระทั่งคนอื่น ๆ ให้หงุดหงิดด้วยแล้ว ก็ต้องพยายามรักษาใจให้นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายตลอดทั้งวัน พยายาม ฝึกให้ใจของเราชุ่มเย็นอยู่ที่ศูนย์กลางกายตลอดทั้งวัน ฝึกไปวันต่อวันเมื่อเราพยายามฝึกอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ โอกาสที่ใจของเราจะนิ่งอย่างต่อเนื่องในศูนย์กลางกาย ก็มีมาก แล้วการทำใจหยุดใจนิ่งให้เข้าถึงพระธรรมกาย ก็ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยอีกต่อไป
เมื่อใดที่เข้าถึงพระธรรมกาย เมื่อนั้น ศรัทธา ในระดับที่เรียกว่า "ตถาคตโพธิสัทธา" ซึ่งเป็นศรัทธาในระดับที่ทุ่มชีวิตจิตใจให้กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาก็จะบังเกิดขึ้นอย่างมั่นคง ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ เกิดขึ้น ก็จะไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อใจของเราแช่อิ่ม อยู่กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายในตัวของเราแล้ว กำลังใจที่จะไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา จะฟื้นฟูวัดร้าง จะฟื้นฟูศีลธรรมโลก ก็จะบังเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล กำลังใจที่จะทำหน้าที่กัลยาณมิตรชักชวนคนทั้งโลกให้ปิดหนทางนรก เปิดหนทางสวรรค์ ถางทาง ไปพระนิพพาน ก็จะสถิตแน่นมั่นคงอยู่ในใจ อุปสรรคใด ๆ ที่บังเกิดขึ้น ก็จะถูกแก้ไขด้วยปัญญาไปตามลำดับ ๆ ในที่สุด ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาเหมือนย้อนยุคพุทธกาล ก็จะต้องกลับมาอีกครั้งในยุคของพวกเราอย่างแน่นอน
ดังนั้น ศรัทธาของตัวเราที่ได้จากการเข้าถึงพระธรรมกายภายในมีมากเท่าใด ศรัทธาที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองไปทั่วโลกก็มีมากเท่านั้น ศรัทธาจึงเป็นธรรมะเบื้องต้นในพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธทุกคนจะดูเบาหรือมองข้ามไปไม่ได้


หลักธรรมในการศรัทธาในวิชาชีพครู

ความรักและเชื่อมั่นในอาชีพของตนย่อมทำให้ทำงานอย่างมีความสุขและมุ่งมั่น อันจะส่งผลให้อาชีพนั้นเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง ดังนั้นครูย่อมรักและศรัทธาในอาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรรวิชาชีพครูด้วยความเต็มใจ
ประการแรก
คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัต แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง
คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีนั้น
ประการที่สาม
คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่
คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความสุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
คุณธรรมทั้ง 4
คือ ประการนี้จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ร่มเย็น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครู จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น


อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

4. มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ
3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ
7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 
1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ
3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค


ฆราวาสธรรม 4

ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครองเรือน และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ
ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ
สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน
ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ
ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส
จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่างๆ
ความสำคัญของหลักธรรม 4 ประการ ที่มีต่อการสร้างตัวนี้ พระพุทธองค์ถึงกับท้าให้ไปถามผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่า มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างเกียรติยศ และความเคารพจากผู้อื่น ให้คนเราได้เท่ากับการมี "สัจจะ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างปัญญาให้คนเราได้เท่ากับการมี "ทมะ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างทรัพย์สมบัติให้คนเราได้เท่ากับการมี "ขันติ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างหมู่มิตรให้คนเราได้เท่ากับการมี "จาคะ" หรือไม่
การที่พระพุทธองค์ทรงท้าให้ไปถามผู้รู้อื่นๆ อย่างนี้ก็หมายความว่า ไม่มีธรรมะใดๆ ที่จะใช้สร้างตัวให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งกว่าการสร้างสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะให้เกิดขึ้นในตนอีกแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่จะยืนหยัดผ่านอุปสรรคต่างๆ ในโลกนี้ไปจนกระทั่งพบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องสร้าง "ฆราวาสธรรม" ให้เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานประจำตนก่อนนั่นเอง เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของ ฆราวาสธรรม คือ คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสร้างเกียรติยศ สร้างปัญญา สร้างทรัพย์สมบัติ และสร้างหมู่ญาติมิตรให้เกิดขึ้นได้สำเร็จด้วยกำลังความเพียรของตน



พรหมวิหาร 4
เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ผู้ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
1. เมตตา
(ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
2. กรุณา
(ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
3. มุทิตา
(ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
4 อุเบกขา
(ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน



พละ 4
หมายถึง หลักธรรม 4 ประการที่เป็นกำลังในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จด้วยความมั่นใจและปลอดภัยมีดังนี้
1. ปัญญาพละ หมายถึง ปัญญาที่เป็นกำลัง ให้รู้ดี รู้ชอบ รู้ถูกต้อง แล้วปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควรทั้งกายและใจ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข คนทุกคนมีปัญญาแต่ไม่เท่ากัน คนที่มีปัญญาดีอาจจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้มากกว่า ส่วนคนที่มีความรู้หรือปัญญาไม่ดีสะสมเพิ่มพูนได้เพราะปัญญาเกิดขึ้นโดย 3 ทาง คือ
1.1 ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน คือได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่นโดยการฟังการอ่าน
1.2 ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาหาเหตุผลด้วยตนเอง ตามพื้นฐานพันธุกรรม เช่น ฟังเรื่อง การปลูกฟักทอง กว่าจะได้ผลอีก 65 วัน แล้วนำมาศึกษาไตร่ตรองทดลองใหม่ ได้ฟักทองที่ให้ผลในเวลา 45 วันเป็นต้น
1.3 ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติ ฝึกอบรมและสร้างสมประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น ช่างถ่ายรูปต้องเรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับกล้องถ่ายรูปก่อนแล้วมาฝึกการถ่ายรูปจนเกิดความชำนาญ ทำเป็นอาชีพได้
2. วิริยะพละ หมายถึง ความเพียรพยายามที่เป็นพลัง ในการทำให้คนเราไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยความเพียรนั้นต้องเป็นความเพียรชอบคือ
2.1 เพียรพยายามไม่ให้เกิดความชั่ว ไม่ทำชั่วดูแลคนใกล้ชิดให้อบอุ่น ป้องกันให้ห่างไกลจากการคิดชั่ว ทำชั่ว เช่น ดูแลบุตรหลานไม่ให้ติดยาเสพย์ติด
2.2 เพียรพยายามละความชั่วที่มีอยู่แล้ว เช่น ติดบุหรี่อยู่ก็เลิกเสีย
2.3 เพียรสร้างความดี โดยการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี มีการเสียสละและช่วยเหลือส่วนรวมบ้าง เช่น การบริจาคโลหิต
2.4 เพียรรักษาความดีและสร้างความดีเพิ่มขึ้น
คนเราเมื่อมีปัญญาก็จะรู้จักคิด หาเหตุผล รู้ปฏิบัติ แต่ก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จไปทุกอย่าง บางทีก็มีอุปสรรค เราจึงต้องมีความเพียรมีความบากบั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเราจึงจะไปถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
3. อนวัชชพล หมายถึง การกระทำที่ไม่มีโทษเป็นกำลัง คือทำในสิ่งที่ดีที่เป็นมงคลผู้กระทำจะเกิดความเจริญก้าวหน้า การกระทำที่กล่าวนี้มี 3 ทางคือ
3.1 กายกรรม คือการกระทำทางกาย เช่น การยืน การเล่น การสั่งสอน
3.2 วจีกรรม คือการกระทำทางวาจาที่เป็นคำพูด เช่น การพูดคุย
3.3 มโนกรรม คือ การกระทำทางใจ เช่น การนึกคิด การมีจิตเมตตา
หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า การกระทำใดเป็น อนวัชชพล
1. ไม่ผิดกฏหมาย เช่น ฆ่าคน ค้ายาเสพย์ติด
2. ไม่ผิดจารีตประเพณี เช่น การที่หญิงสาวบรรลุนิติภาวะ หนีตามผู้ชาย
3. ไม่ผิดศีล เช่น พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
4. ไม่ผิดธรรม เช่น การโกรธ การคิดอิจฉาริษยา
การกระทำทางกาย วาจาและใจที่ไม่มีโทษย่อมได้รับการยกย่องชื่นชมจากผู้อื่นและยังเป็นพลังให้ผู้กระทำดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
4. สังคหพละ หมายถึง การสงเคราะห์เป็นกำลังเพราะคนเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม ก็ควรจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อสร้างความรักความสามัคคี ในทางพระพุทธศาสนามีหลักธรรมในการสงเคราะห์ผู้อื่น เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 ได้แก่
4.1 ทาน คือ การให้โดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ให้กับผู้ที่ต้องการ ผู้ที่เดือดร้อนขาดแคลนหรือผู้มีพระคุณ การให้อาจเป็นวัตถุสิ่งของ คำแนะนำหรือข้อคิด ของที่ให้ต้องไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ผู้ให้มีความสุขผู้รับก็พอใจ
4.2 ปิยวาจา คือการใช้วาจาที่สุภาพประกอบด้วยเหตุผลที่มีประโยชน์ ฟังแล้วสร้างสรรใช้คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่ใช้คำหยาบ ไม่นินทาผู้อื่น ผู้ที่มีปิยวาจาจะเป็นที่รักของผู้อื่น
4.3 อัตถจริยา คือการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นตามโอกาสอันควรในฐานะที่ต้องอยู่ร่วมสังคมกัน เช่น บริจาคของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
4.4 สมานัตตตา คือ ความเสมอต้นเสมอปลาย ในการวางตนให้เหมาะสมกับสถานะของตนไม่หวั่นไหวตกอยู่ในความชั่วทั้งหลาย เช่น การทำตนเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ทุก ๆ วัน ไม่ใช่ทำตนดีเฉพาะวันพ่อหรือวันแม่เท่านั้น

พละ 4 นี้เป็นธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจและปลอดภัยแล้วยังส่งเสริมให้เกิดความสงบสุขด้วยการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน



อธิษฐานธรรม 4
ธรรมเป็นที่มั่น ธรรมเป็นรากฐานที่มั่นคงของบุคคล ธรรมควรใช้เป็นที่ประดิษฐานตน เพื่อให้มีความสามารถยึดเอาเหตุผลเพื่อ
ให้สำเร็จขั้นสูงสุด ตามที่ตนได้ตั้งจุดหวังไว้ โดยไม่ให้มีการเข้าข้างตนเอง เพื่อหลีกเว้นสิ่งที่ผิด สิ่งที่เป็นบ่อเกิดแห่งความมัวหมอง
ที่จะนำมาทับถมตน ธรรมควรจะเอาไว้ใน ใจ ให้เป็นสถานที่มั่งคง โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ปัญญา ควรรู้ให้ชัดแจ้งในเหตุผล ให้พิจารณาให้เข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายจนกว่ารู้ความเป็นจริง
2. สัจจะ แปลว่า ดำรงมั่นคงอยู่ในความเป็นจริง ที่รู้แจ้งด้วยปัญญา เริ่มจากความเป็นจริงด้านวาจา จนถึงปรมัตถสัจจะ
3. จาคะ ความสละ หรือการละเสีย หรือการเสียสละ คือ การละจากสิ่งที่ตนเคยชิน ที่ตนยึดมั่นไว้ และสิ่งทั้งหลายที่เป็นการผิดจากความเป็น จริงให้ละวางให้ได้ อันนี้เริ่มต้น จากอมิสาอาชีพ ละไปจนถึงการสละอาชีพ
4. อุปสมะ คือความสงบ คือการระงับโทสะ ระงับความวุ่นวาย อันเกิดจากกิเลสทั้งหลายแล้วทำจิตใจให้สะอาดสงบ

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรง
กลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง



ความหมายและความสำคัญของค่านิยม
อาจกล่าวได้ว่าค่านิยมมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรม ค่านิยมบางอย่างได้สร้างแก่นของวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ค่านิยมเรื่องรักอิสรเสรีของสังคมไทย ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้” เพราะฉะนั้นค่านิยมจึงมีความสำคัญมากและมีผลกระทบถึงความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม กล่าวคือ สังคมที่มีค่านิยมที่เหมาะสมและถูกต้อง เช่น ถ้าสังคมใดยืดถือค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ หรือความสามัคคี สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าแน่นอนแต่ในทางกลับกัน ถ้าสังคมใดมีค่านิยมที่ไม่สนับสนุนความเจริญ เช่น ค่านิยมที่เชื่อเรื่องโชคชะตาก็จะก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่กระตือรือร้น หรือเฉื่อยชา ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนา เป็นต้น



อิทธิพลของค่านิยมต่อตัวบุคคล
ค่านิยมไม่ว่าจะเป็นของบุคคลหรือค่านิยมของสังคม จะมีอิทธิพลต่อตัวบุคคล ดังนี้ คือ

1. ช่วยให้บุคคลตัดสินใจว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ดีหรือไม่ดี มีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าควรทำหรือไม่ควรทำ
2. ช่วยให้บุคคลในการกำหนดท่าทีของตนต่อเหตุการณ์ที่ตนต้องเผชิญ
3. ช่วยสร้างมาตรฐาน และแบบฉบับจากการประพฤติปฏิบัติของบุคคล
4. มีอิทธิพลเหนือบุคคลในการเลือกคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น และเลือกกิจกรรม ทางสังคม ซึ่งตนจะต้องเข้าไปร่วมด้วย
5. ช่วยให้บุคคลกำหนดความคิดและแนวทางปฏิบัติ
6. ช่วยเสริมสร้างหลักศีลธรรม ซึ่งบุคคลจะใช้ในการพิจารณา การกระทำของตนอย่างมีเหตุผล


ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการไว้ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2530, หน้า 25-103)

ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 1 การพึ่งพาตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
การพึ่งพาตนเอง หมายถึง การที่บุคคลมีความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยราบรื่นไม่เดือดร้อน สามารถหาปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพมาได้ด้วยความสามารถของตนเองไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นต้องคอยอุปถัมภ์สงเคราะห์
ขยันหมั่นเพียร หมายถึง ความมีมานะพยายามในการประกอบงานทีสุจริต ด้วยความขยันขันแข็ง อดทน เอาใจใส่อยู่เป็นนิจ และเสมอต้นเสมอปลาย โดยใช้สติปัญญาเพื่อ ให้งานที่ทำบรรลุผลสำเร็จภายในเวลาอันสั้น และได้รับผลดีสูงสุด นอกจากนั้นยังรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
ความรับผิดชอบ หมายถึง การมีความสำนึกและการปฏิบัติหน้าที่ของตน ทั้งที่เป็นภารกิจส่วนตัว ภารกิจที่ได้รับมอบหมายและภารกิจทางสังคม โดยจะต้องกระทำจนบรรลุ ผลสำเร็จไม่หลีกเลี่ยงภาระดังกล่าวและยอมรับผลในการกระทำของตน

ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 2 การประหยัดและออม
การประหยัดและออม หมายถึง การรู้จักใช้รู้จักออมทรัพย์สิน เวลา ทรัพยากร ทั้งส่วนตนและสังคมตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งการรู้จักดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพฐานะความเป็นอยู่ส่วนตนและสังคม

ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 3 การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย หมายถึง การควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อตกลง ระเบียบแบบแผน และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เพื่อความสงบสุขในชีวิตของตน และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม

ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 4 การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา หมายถึง การให้ประชาชนมีศรัทธาและยึดถือปฏิบัติในแบบแผนความประพฤติที่ตั้งอยู่ในความดีงามและหลักธรรมของศาสนา

ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 5 การมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ความรักชาติ หมายถึง การมีความรักไทย นิยมไทย สำนึก และภูมิใจในความเป็นคนไทย มีความผูกพันหวงแหนมาตุภูมิ มุ่งมั่นส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งการรักเกียรติภูมิของชาติ
ความรักสถาบันศาสนา หมายถึง การมีความรัก ความภาคภูมิใจ ความศรัทธา ในศาสนาที่ตนนับถือ รู้แก่นแท้ของศาสนา และยึดถือเป็นแนวทางในการประพฤติตนเพื่อพร้อมที่จะดำรงไว้ซึ่งสถาบันศาสนา
ความรักสถาบันพระมหากษัตริย์ หมายถึง การมีความจงรักภักดี และศรัทธาในพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ



การปลูกฝังค่านิยม
การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นเก่าไปยังสมาชิกใหม่ของสังคม เกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการเลี้ยงดูเด็กและการขัดเกลาทางสังคม เริ่มต้นจากพ่อ แม่ ญาติ เพื่อน และสื่อต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนทางสังคมที่ทำหน้าที่ปลูกฝังถ่ายทอดปลูกฝังวัฒนธรรม เริ่มจากการเป็นแบบอย่างให้เด็กเลียนแบบจนเป็นความเคยชินซึมซับจนกลายเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของเด็กโดยไม่รู้ตัวสิ่งเหล่านี้จะช่วยกล่อมเกลาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และรับถ่ายทอดวัฒนธรรมรวมทั้งค่านิยม


ค่านิยมของอาชีพครู


การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นที่ได้รับการกล่าวขาน ในวงการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข ตามพระราชบัญญัติ พุทธศักราช 2542 ทำให้ครูได้หันมาให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง ดังนั้นการศึกษาไทยในสังคมนิยมให้ผู้เรียนเน้นการลงมือปฏิบัติ จากความคิดเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความรักในการเรียนรู้ โดยส่วนใหญ่ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง และต้องลงมือทำเพื่อเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพราะการบอกสอนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเกิดการเรียนรู้แต่สิ่งสำคัญของการเรียนคือ การฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ เพราะรู้แต่ในเรื่องของทฤษฎีแต่ขาดการลงมือปฏิบัติก็จะทำให้ขาดการเรียนรู้สมบูรณ์ เพราะผู้เรียนที่ดีต้องได้เกิดการค้นพบ ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมและสร้างศักยภาพให้กับผู้เรียนไปในทิศทางเดียวกันของระบบการศึกษาไทย ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนจะได้รับความเจริญทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกันทั้งโรงเรียนในเมือง และโรงเรียนที่อยู่ในชนบท แต่ความจริงคือครูต่างหาก ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีหรือไม่นั้น สิ่งสำคัญคือผู้สอน ผู้ที่ให้ความรู้ แต่จะให้อย่างไร แบบป้อนข้อมูล หรือแบบบอกวิธีการ ตรงนี้ที่สำคัญมากในการสอนให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ในฐานะครูคนหนึ่งจึงอยากที่จะสร้างเครือข่ายร่วมกันส่งเสริมครูดี มีฝีมือแบ่งปันความรู้ความคิด ที่มีอยู่ในตนออกมาถ่ายทอดความรู้ความคิดให้กับครูที่ยังขาดประสบการณ์ในการสอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถ้าหากวันนี้เรายังไม่พัฒนาที่ตัวเราก่อน แล้วเราจะไปพัฒนาอนาคตของชาติได้อย่างไรกัน ดังนั้น การเรียนการสอนที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน ไม่ใช่ให้เกิดแต่เพียงผลงานและตำแหน่งของครูเท่านั้น ถ้าเราร่วมมือกันสร้างอนาคตของชาติ ผู้เขียนเชื่อว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี เป็นอย่างยิ่ง เหนือสิ่งอื่นใดอย่าให้วัตถุนิยมอยู่เหนือความดีงามของวิชาชีพครู 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น