เกริ่นนำ

........สวัสดีครับ ท่านผู้ที่เข้าชม Blogger ของผม ซึ้งเป็นการเรียนประกอบวิชา ว่าด้วยวิชา ความเป็นครู ซึ้งวิชานี้เป็นวิชาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยผสมผสานสื่อต่างๆเข้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม มีความสะดวกสบาย ทั้งที่เป็นบทความและรูปภาพ ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกลมาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ
หวังว่า Blogger นี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาไม่มากก็น้อย

บทที่ 2

ความสำคัญของวิชาชีพครู
                 ครู อาชีพครู วิชาชีพครู งานที่มีเกียรติและเป็นงานที่สร้างคนให้กับสังคม
ครู คือบุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถและเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำอาชีพนี้จะต้องได้ใบประกอบวิชาชีพครูด้วยคล้ายๆกับหมอแล้วครับ

องค์กรวิชาชีพครู

 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครู  มีหลักๆ๓  องค์กร คือ
            องค์กรผลิตครู –
 หน่วยงานผลิตบุคลากรทางการศึกษา เช่น คณะศึกษาศาสตร์, ราชภัฏ ฯ
            องค์กรใช้ครู – สถานศึกษาในสังกัดต่างๆทั้งกระทรวงศึกษา เทศบาล  โรงเรียนเอกชน  หน่วยงานเพื่อให้ความรู้
            องค์กรวิชาชีพครู – องค์กรที่ผู้ประชอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้น เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ

ลักษณะขององค์กร  : 
            ๑. ปัญหา/แนวคิด ที่เหมือนกัน ร่วมกันจัดตั้ง 
           
 ๒. เป็นวิชาชีพชั้นดี จำเป็นต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพ มีผลกระทบต่อมวลชน 
           
 ๓. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
            ๔. มีทรัพยากรขององค์กร สถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนทรัพย์สิน ต่างๆ 
            ๕. มี พ.ร.บ. ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา            ๖.มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ

      ตัวอย่างองค์กรที่มีกฎหมายรองรับ
            ๑. ครุสภาเก่า            ๒. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู            ๓. สมาคมวิชาชีพเฉพาะด้านต่างๆ เช่น  สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย  สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ สมาคมครูสตรีไทย เป็นต้น            ๔. สมาคมที่มีลักษณะพิเศษ  สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย

      
เป้าหมายขององค์กรวิชาชีพครู
            ๑. ส่งเสริมสมาชิกให้มีการกินดี อยู่ดี โดยจัดสวัสดิการต่างๆหรือดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกทุกด้าน            ๒. ส่งเสริมสมาชิกมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพสูงขึ้น (ส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับวิชาชีพ)

บทบาทและหน้าที่ของคุรุสภาที่พึงประสงค์ (เดิม)
 ๑. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจสามารถปฏิบัติงานได้โดยเร็ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 ๒. ส่งเสริมสวัสดิการแลพบริการให้แก่สมาชิกโดยทั่วถึง
  ๓. สร้างเกณฑ์มาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมครูให้ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตอันเหมาะสม
   ๔. มีอำนาจในการออกและถอดถอนใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ
   ๕. ส่งเสริมให้สมาชิกมีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ
   ๖. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
   ๗. วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ    ๘. ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง


คุณลักษณะของวิชาชีพทั่วไป
              เหนือสิ่งอื่นใด  ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งพระราชทานแก่ครูอาวุโส  ประจำปีพุทธศักราช  2522  เมื่อวันอังคารที่  28  ตุลาคม  ..2523  (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา,  2541)  มีข้อความเกี่ยวข้องกับลักษณะครูที่ดีตอนหนึ่งว่า........
“ ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี  คือ 
-          ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
-          ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ 
-          ต้องหนักแน่น  อดทน  อดกลั้น
-          ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม 
-          ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย  และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
-            ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ 
-          ต้องรักษาความซื่อสัตย์  รักษาความจริงใจ 
-          ต้องมีเมตตา  และหวังดี 
-          ต้องวางใจเป็นกลาง  ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ 
-          ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ  และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล” 

คุณลักษณะที่ดีของครู
                  คุณลักษณะที่ดีของครู  หมายถึง เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดี  หรือลักษณะที่ดีของครูและเป็นลักษณะที่ต้องการของสังคม
ลักษณะครู ที่ดี ควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความ
เข้าใจและเอาใจใส่ตัวศิษย์ทุกคนเป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิษย์เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู
 
มีจิตวิญญาณของความเป็นครู สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี
  มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น