เกริ่นนำ

........สวัสดีครับ ท่านผู้ที่เข้าชม Blogger ของผม ซึ้งเป็นการเรียนประกอบวิชา ว่าด้วยวิชา ความเป็นครู ซึ้งวิชานี้เป็นวิชาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยผสมผสานสื่อต่างๆเข้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม มีความสะดวกสบาย ทั้งที่เป็นบทความและรูปภาพ ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกลมาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ
หวังว่า Blogger นี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาไม่มากก็น้อย

บทที่ 1

ความหมายของครู

            ความหมายของครู
ครู    คคือ บุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ” และภาษาบาลี “ครุ, คุรุ”

อำไพ สุจริตกุล (๒๕๓๔ : ๔๗-๔๘) กล่าวว่า คำว่า “ครู” “ปู่ครู” “ตุ๊ครู” และ “ครูบา”

ในสมัยโบราณ หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่นหลังของสำนักต่อไป หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป

จากแหล่งอ้างอิงอื่น ครูคือ
1. ครู เป็นผู้นำทางศิษย์ไปสู่คุณธรรมชั้นสูง
2. ครู คือ ผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นผู้มีความหนักแน่น ควรแก่การเคารพของลูกศิษย์
3. ครู คือผู้ประกอบอาชีพอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่สอน มักใช้กับผู้สอนในระดับต่ำ กว่าวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา

รังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (2550: 38) ได้ให้ความเห็นว่า “ครู” คือ
ครู คือ ผู้ที่ให้ความรู้ไม่จำกัดทุกที่ทุกเมื่อ ครูต้องเต็มไปด้วยความรู้ และรู้จัก ขวนขวายหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ สะสมความดี มีบารมีมาก และครูที่ดีจะต้องไม่ปิดบัง ความรู้ ควรมีจิตและวิญญาณของความเป็นครู
ครู คือ ผู้เติมเต็ม การที่ครูจะเป็นผู้เติมเต็มได้ ครูควรจะเป็นผู้แสวงหาความรู้ ต้อง วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ และมาบูรณาการความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ครู คือ ผู้ที่มีเมตตา จะต้องสอนเต็มที่โดยไม่มีการขี้เกียจหรือปิดบังไม่ให้ความรู้ เต็มที่ ครูต้องไม่ลำเอียง ไม่เบียดเบียนศิษย์

ในหนังสือ พจนะ – สารานุกรมไทย เปลื้อง ณ นคร (2516: 89) ได้ให้ความหมายของคำว่า “ครู” ไว้ดังนี้
1. ผู้มีความหนักแน่น
2. ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์
3. ผู้สั่งสอน

คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good. 1973: 586) ได้ให้ความหมายของคำว่า “ครู” (teacher) ไว้ดังนี้ คือ
1. person employed in an official capacity for the purpose of guiding and directing the learning experience of pupils or students in an educational institution whether public or private.
2. person who becomes of rich or unusual experiencing or education or both in given field is able to contribute to the growth or development of other person who comes to contact with him.
3. person who has completed a professional curriculum in a teacher education institution and whose training has been officially recognized by the award of an appropriate teaching certificate.
4. person who instructs the other.
จากคำ ภาษาอังกฤษข้างบนนั้น จะเห็นได้ว่า ความหมายของคำว่า “ครู” (Teacher) คือ
1. ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
2. ครู คือ ผู้ที่มีความรู้ประสบการณ์และมีการศึกษามากหรือดีเป็นพิเศษ หรือมี ทั้งประสบการณ์และการศึกษาดีเป็นพิเศษในสาขาใดสาขาหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้อื่นเกิด ความเจริญก้าวหน้าได้
3. ครู คือ ผู้ที่เรียนสำเร็จหลักสูตรวิชาชีพจากสถาบันการฝึกหัดครู และได้ ใบรับรองทางการสอนด้วย
4. ครู คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ความรู้แก่ศิษย์

นอกจากนี้ คำว่า “ครู” ยังมีความหมายอื่น ๆ ได้อีก เช่น
1. “ครู คือ ปูชนียบุคคล” หมายถึง ครูที่เสียสละ เอาใจใส่เพื่อความเจริญ ของศิษย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ควรเคารพเทิดทูน
2. “ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ” หมายถึง การเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ที่จะ ปฏิบัติตัวตามอย่างครู
3. “ครู คือ ผู้แจวเรือจ้าง” หมายถึง อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความ ร่ำรวย ครูต้องมีความพอใจในความเป็นอยู่อย่าง สงบเรียบร้อย อย่าหวั่นไหวต่อลาภ ยศ ความ สะดวกสบาย
โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ครู คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ศิษย์เกิดความรู้ และมี คุณธรรม จริยธรรมที่ดี นำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ในอนาคต
ความหมายของคำว่า “อาจารย์”
ปัจจุบันคำว่า “ครู” กับ “อาจารย์” มักจะใช้ปะปนหรือควบคู่กันเสมอ จนบางครั้งดู เหมือนว่า จะมีความหมายเป็นคำคำเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว รากศัพท์เดิมของ คำว่า “อาจารย์” ไม่เหมือนกับคำว่า “ครู” และเมื่อพิจารณาถึงความหมายดั้งเดิมแล้วยิ่งไม่ เหมือนกัน
พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๗ : ๙๒) กล่าวว่า คำว่า “ครู”

เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ แล้วก็นำให้เกิดทางวิญญาณไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ

ท่านพุทธทาสภิกขุ (2529: 93) ได้จำแนกความหมายของ “อาจารย์” เป็น 2 แบบ คือ
1. ความหมายดั้งเดิม หมายถึง ผู้ฝึกมารยาท หรือเป็นผู้ควบคุมให้อยู่ในระเบียบ วินัย เป็นผู้รักษาระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
2. ความหมายปัจจุบัน หมายถึง ฐานะชั้นสูงหรือชั้นหนึ่งของผู้ที่เป็นครู
ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุกต์ ปยุตฺโต) (2528: 185) อธิบายความหมายของอาจารย์ไว้ดังนี้
1. ผู้ประพฤติการอันเกื้อกูลแก่ศิษย์
2. ผู้ที่ศิษย์พึงประพฤติด้วยความเอื้อเฟื้อ
3. ผู้สั่งสอนวิชาและอบรมดูแลความประพฤติ

ความหมายของคำว่า “อาจารย์” ตามทัศนะของชาวตะวันตก จะหมายถึง ผู้สอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่งต่ำกว่าระดับศาสตราจารย์ และเป็นผู้สอน ที่ต้องรับผิดชอบต่อการสอนนักศึกษาให้เกิดความก้าวหน้าตามประสงค์เฉพาะของ การศึกษาที่กำหนดไว้

เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “อาจารย์” ตามทัศนะของคนไทยกับทัศนะ ของชาวตะวันตกแล้วจะเห็นได้ว่า อาจารย์ของชาวตะวันตกจะเน้นความสำคัญไปที่การ สอน คือเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการสอนเฉพาะด้าน และเป็นผู้ที่ทำการสอนใน สถาบันการศึกษาชั้นสูง แต่ความหมายของคำว่า “อาจารย์” ตามทัศนะของคนไทย จะมี ความหมายกว้างกว่า คือเป็นทั้งผู้สอนวิชาความรู้ อบรมดูแลความประพฤติ และเป็นผู้ที่มี ฐานะสูงกว่าผู้เป็นครู ดังนั้นจึงพอสรุปความหมายของคำว่า “อาจารย์” ได้ว่า “เป็นผู้สอน วิชาความรู้และอบรมความประพฤติของลูกศิษย์ เป็นผู้มีสถานะภาพสูงกว่า “ครู” และมัก เป็นผู้ที่ทำการสอนในระดับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย”
ในปัจจุบันนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่การสอนไม่ว่าจะมีคุณวุฒิระดับใด ทำการสอนในระดับ ไหน จะนิยมเรียกว่า “อาจารย์” เหมือนกันหมด ซึ่งมิใช่เรื่องเสียหายอะไร ในทางตรงกัน ข้าม กลับจะเป็นการยกย่องและให้ความเท่าเทียมกันกับคนที่ประกอบวิชาชีพเดียวกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดมิใช่เป็นคำว่า “ครู” หรือ “อาจารย์” แต่อยู่ที่การทำหน้าที่ของตนให้ สมบูรณ์ที่สุด
ความหมายของคำที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์

คำที่มีความหมายคล้ายกับ ครู มีหลายคำ เช่น
1. อุปัชฌาย์ – ท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายความหมายของ “อุปัชฌาย์” ว่า หมายถึง ผู้สอนวิชาชีพ แต่ในปัจจุบันนี้ หมายถึง พระเถระ ผู้ใหญ่ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา
2. ทิศาปาโมกข์ – หมายถึง อาจารย์ที่มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง ในสมัยโบราณ ผู้มีอันจะกินจะต้องส่งบุตรหลานของตนไปสู่สำนัก ทิศา ปาโมกข์ เพื่อให้เรียนวิชาที่เป็นอาชีพ หรือ วิชาชั้นสูงใน สาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อกลับไปรับหน้าที่ทำการงานที่สำคัญ ๆ
3. บุรพาจารย์ หรือ บูรพาจารย์ คือ อาจารย์เบื้องต้น หมายถึง บิดา มารดา ซึ่ง ถือว่าเป็นครูคนแรกของบุตร ธิดา
4. ปรมาจารย์ คือ อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง
5. ปาจารย์ คือ อาจารย์ของอาจารย์
ส่วนคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีความหมายคล้ายกับคำว่า ครู หรือ Teacher มีหลายคำ คือ
1. Teacher หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ประจำในโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ ตรงกับคำว่า ครู หรือ ผู้สอน
2. Instructor หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนโดยเฉพาะในวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัย ตรงกับคำว่า อาจารย์
3. Professor (ในประเทศอังกฤษ) หมายถึง ตำแหน่งผู้สอนที่ถือว่าเป็น ตำแหน่งสูงสุดในแต่ละสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ใน อเมริกาและแคนาดาใช้เป็นคำนำหน้านามสำหรับผู้สอนใน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์   ใช้คำว่า   Assistant Professor
รองศาสตราจารย์       ใช้คำว่า   Associate Professor
ศาสตราจารย์             ใช้คำว่า    Professor
4. Lecturer หมายถึง บุคคลผู้สอนในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ตรงกับคำว่า ผู้บรรยาย
5. Tutor หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือ รายบุคคล โดยทำงานเป็นส่วนหนึ่งของผู้บรรยาย คล้าย ๆ กับ ผู้สอนเสริมหรือสอนกวดวิชา
6. Sophist เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง ปราชญ์ผู้สอนวิชาต่าง ๆ คล้ายกับคำว่า “ทิศาปาโมกข์”


ความสำคัญของความเป็นครู


            อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งสิ้น  ยากที่จะกล่าวอ้างว่าอาชีพใดมีความสำคัญกว่ากัน  แต่ถ้าเรามาพิจารณาเฉพาะวิชาชีพครูให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่า  ผู้เป็นครูนั้นต้องรับภาระหน้าที่ต่อสังคมและชาติบ้านเมือง  หากผู้เป็นครูปฏิบัติภาระที่ตนเองได้รับบกพร่อง  ผลกระทบก็จะตกไปถึงความเสื่อมของสังคมและชาติบ้านเมือง  เพื่อให้นักศึกษาครูได้ตระหนักถึงความสำคัญของครู  จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู  ณ.อาคารใหม่สวนอัมพร  วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2523 มากล่าวในที่นี้ ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า

                "...หน้าที่ของครูนั้นเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจให้แก่เยาวชน เพื่อที่จะได้เติบโต ขึ้นเป็นผลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการสร้างสรรค์บันดาลอนาคตของชาติบ้านเมือง..."

                และอีกตอนหนึ่งเป็นพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู  ณ อาคารใหม่สวนอัมพร  วันพุธที่18 พฤษภาคม  พ.ศ.2526  ความตอนหนึ่งว่า

             "...อาชีพครูถึงว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งก็ได้แก่เยาวชนของชาติ เสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน จึงจะสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ ..."

             พระราโชวาทของทั้งสองพระองค์ดังกล่าว  สามารถสรุปความได้ว่า  ผู้ที่เป็นครูนั้นมีความสำคัญอย่างมาก  เพราะครูเป็นผู้ปลูกฝังความรู้สึกความคิดและจิตใจและพัฒนาเยาวชนให้มีความเจริญในทุกๆด้าน  เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป

จากพระราโชวาทของทั้งสองพระองค์ตามที่ได้อัญเชิญมานี้  เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลที่เป็นครูที่มีต่อความเจริญของบุคคลและชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง  ทั้งนี้เพราะ "ชาติบ้านเมืองจะมีความเจริญมั่นคงอยู่ได้  ก็เพราะประชาชนในชาติได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธี   การพัฒนาคนจะดำเนินไปอย่างถูกต้องก็เพราะมีระบบการศึกษาที่ดี  และระบบการศึกษาจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ก็เพราะมีครูที่มีคุณภาพ"

สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู

              ครูมีความสำคัญต่อสังคมมาก ดังนั้นสังคมจึงยกย่องครูโดยให้สมญานามต่างๆ คือ

                1. ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา

             หมายความว่า ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น ร่วมกับคณะครูสำหรับพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนที่ตนปฏิบัติงาน  ร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อช่วยกำหนดนโยบายสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ร่วมกับคณะครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สนองความต้องการท้องถิ่น  ร่วมกับคณะครูเพื่อปรับปรุงวิธีการสอนให้ทันสมัย และร่วมคิดจัดสื่อการสอนให้ทันสมัย ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

              2. ครู คือ ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ

               หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย  ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์  ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่  ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น  ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี  ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม  ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม
             3. ครู คือ ทหารเอกของชาติ

                   หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมีความสามารถ เป็นผู้นำของชาติบ้านเมืองในทุกๆด้าน ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ เช่น เป็นผู้นำด้านระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชมท้องถิ่น  เป็นผู้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่ชุมชน  เป็นผู้นำความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมที่ดีมาสู่ชุมชน  เป็นผู้นำทางความคิดแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ  เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชม  เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครอบในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชน

             4. ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ

                 หมายความว่า ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมต่างๆ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมารยาทไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีโดยนำเอาหลักธรรมในการปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการประหยัดอดออม เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขอนามัย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ภาษาไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านเป็นบุคคลที่มีชีวิตในครอบครัวอย่างผาสุก

  5. ครู คือ กระจกเงาของศิษย์

                หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่กระทำสิ่งที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะกระจกเงาของศิษย์ เช่น ตักเตือนศิษย์ที่แต่งกายไม่ถูกต้อง  ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม  ตักเตือนศิษย์มิให้ครบเพื่อนซึ่งมีพฤติกรรมทางเสื่อมเสีย ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อน ตักเตือนศิษย์ให้เลิกลักขโมย  ตักเตือนศิษย์ให้ตรงต่อเวลา ตักเตือนศิษย์ที่มีนิสัยเกียจคร้าน  ตักเตือนศิษย์ให้ไม่เลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีงานจากบุคคลที่มีชื่อเสียง และตักเตือนศิษย์มิให้ปฏิบัติตามค่านิยมไม่ดีงามบางอย่าง

            6. ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง

                หมายความว่า ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น ให้ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ  สอนศิษย์ให้รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ  สอนให้ศิษย์ละเว้นความชั่วทั้งปวง สอนให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม แนะนำศิษย์ให้สำรวจว่าตนเองมีความสามารถด้านใด  แนะแนวอาชีพที่ตรงกับความถนัดของศิษย์  ให้ความรู้ทันสมัยแก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์ แนะนำแหล่งวิทยาการแก่ศิษย์ และแนะนำสิ่งที่เป็นบุญกุศลแก่ศิษย์

             7. ครู คือ ผู้สร้างโลก

                    หมายความว่า ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไปพัฒนาสังคมประชาชาติ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก เช่น สอนให้ศิษย์เป็นนักคิด  สอนให้ศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนให้ศิษย์ขยัน สอนให้ศิษย์สร้างครอบครัวที่มั่นคง สอนให้ศิษย์ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  สอนให้ศิษย์สามัคคี และสอนให้ศิษย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

             8. ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ

               หมายความว่า ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ เช่น ไม่สอนวิชาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์  ไม่แนะนำสิ่งผิดให้นักเรียน  ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าวในสังคม ไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นมิจฉาทัฏฐิให้ศิษย์ในที่สาธารณะ  ไม่สอนศิษย์เพียงให้พ้นหน้าที่ประจำวัน  ไม่เป็นผู้ก่อความแตกร้าวทางความคิดให้แก่คนในชาติ และไม่อาศัยชื่อเสียงหรือบารมีของตนเพื่อสร้างความสับสนให้กับสังคม

              9. ครู คือ ปูชนียบุคคล

                   หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลทั่วไป ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปูชนียบุคคล เช่น ลดละเลิกพฤติกรรมที่เป็นความชั่วทางกายทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต  ฝึกให้ตนมีมโนสุจริต  พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจ และพยายามสั่งสมวิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม

            10. ครู คือ วิศวกรสังคม

                    หมายความว่า ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม เพราะครูทำหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย  ครูทำงานพัฒนา  ครูทำงานออกแบบ  ครูทำงานผลิต  ครูทำงานก่อนสร้าง  ครูทำงานควบคุมโรงเรียน   ครูทำงานทดสอบ  ครูทำงานการขายและการตลาด  ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา และครูทำงานการศึกษาโดยตรง

ความสำคัญของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม

          การที่ครูได้รับการยกย่องให้เป็นวิศวกรสังคมก็เพราะครูมีบทบาททางสังคมเช่นเดียวกับงานวิศวกรในฐานะนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้กระทำ กล่าวคือ ครูเป็นนักสร้าง ออกแบบ แก้ไข ปรับปรุง และเป็นนักพัฒนาคน ด้วยเหตุนี้สังคมจึงยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรสังคม งานของครูในฐานะที่เป็นวิศวกรสังคมที่สำคัญจึงมีดังนี้

1. ครูทำงานวิจัย    ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงขั้นสลับซับซับซ้อนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน เช่นแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน นักเรียนขาดเรียนโดยไม่ทราบสาเหตุ วิจัยเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

2. ครูทำงานพัฒนา    ครูนำความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าทดลองทางการศึกษาและจิตวิทยาไปทดลองใช้ในการเรียนการสอน เพื่อหาความเหมาะสมและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญยิ่งคือ     “การพัฒนาคน”

3. ครูทำงานออกแบบ   ออกแบบด้านกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานความสามารถของนักเรียน และให้สอดคล้องกับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการประกอบการสอนระดับต่างๆ

4. ครูทำงานการผลิต  ครูให้ความรู้ความสามารถแก่นักเรียนนักศึกษาก่อนที่เขาเหล่านั้นจะออกไปรับใช้สังคม ครูจะต้องทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้ผลิตผลของครูเป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามที่สังคมต้องการ

5. ครูทำงานก่อสร้าง  สร้างพฤติกรรมของคนให้เป็นไปตามรูปแบบที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการ ซึ่งเป็นงานที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการก่อสร้างตึกสร้างอาคารบ้านช่องเท่าใดนัก

6. ครูทำงานควบคุมโรงเรียน  หากครูสามารถควบคุมดูแลโรงเรียนให้สะอาดเรียบร้อยตกแต่งอาคารบริเวณสวยงาม มีบรรยากาศน่าอยู่น่าเรียน นักเรียนในโรงเรียนอยู่ด้วยกันด้วยความรักสามัคคี สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมดี การจัดกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลไปถึงผลผลิตของโรงเรียนคือ นักเรียนจะต้องมีคุณภาพด้วยอย่างแน่นอน

7. ครูทำงานทดสอบ   ครูจะเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบการทดสอบและดำเนินการทดสอบเองตามความเหมาะสม

8. ครูทำงานการขายและการตลาด  ครูต้องเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับชุมชน โรงเรียนเปรียบเสมือนบริษัทหรือโรงงานผลิตสินค้า นักเรียนคือสินค้า ส่วนชุมชนหรือสังคมเปรียบเสมือนผู้ซื้อหรือลูกค้า ถ้าผู้เรียนมีคุณภาพดีแสดงว่าเป็นที่ต้องการของตลาดมากครูก็มีคุณภาพ

9. ครูทำงานบริหาร  ผู้เป็นครูทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้บริหารระดับต่างๆ

10. ครูทำงานที่ปรึกษา งานของครูทุกระดับชั้นต้องเกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาแก่ศิษย์ และบางครั้งต้องให้คำปรึกษาแก่ประชาชนในชุมชนใกล้เคียงสถานศึกษาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำปรึกษาแก่ศิษย์นั้นสำคัญยิ่ง

11. ครูทำงานการศึกษาโดยตรง งานการศึกษาเป็นงานของครูโดยตรงครูต้องรับผิดชอบกับการศึกษาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา รับผิดชอบในการสร้างคุณภาพของคนเพื่อให้คนไปสร้างสังคมต่อไป

ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาเยาวชน

             งานสำคัญของครูในการพัฒนาเยาวชนได้แก่ การให้ความรู้เชิงวิชาการเพื่อเป็นฐานในการศึกษาเล่าเรียน และประกอบอาชีพ, ให้ความรู้สึกพยายามให้เยาวชนมีความสำนึกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควร และอะไรไม่ควร, ให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิดเพื่อแก้ไขปัญหา

             บทบาทของครูต่อการพัฒนาเยาวชนถือว่าเป็นงานที่สำคัญมาก ครูจะทำหน้าที่ในฐานะเป็นวิทยากรสังคมได้สมบูรณ์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเยาวชน

ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาสังคม

1.ให้การศึกษาและความรู้แก่ประชาชนทั่วไป

2.เป็นผู้นำหรือริเริ่ม ปรับปรุงความเป็นอยู่ของสังคมและวัฒนธรรม

3.เป็นผู้ปรับปรุงส่งเสริม

4.เป็นที่ปรึกษาแก่ชุมชน

5.เป็นผู้สร้างความตื่นตัว

6.เป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานงาน

          ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง

                1.ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับระบบการปกครองประเทศ

                2.ฝึกหัดให้เยาวชนในสถานศึกษานำรูปแบบการปกครองประเทศมาใช้กับการดำเนินกิจกรรม                      บางอย่างในสถานศึกษา

                3.ครูเป็นตัวแทนของรัฐในการเชิญชวนให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการเลือกตั้ง

                4.สร้างค่านิยมระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน

                5.แนะนำประชาชนในท้องถิ่นมิให้เห็นแก่อามิสสินจ้างรางวัล การซื้อสิทธิขายเสียง

           ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ

                1.สอนนักเรียนที่ตัวครูเองรับผิดชอบอยู่ให้เต็มเวลา เมหลักสูตร เต็มความสามารถ

                2.ส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                3.ส่งเสริมกิจกรรมด้านสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนอย่างจริงจัง

                4.ส่งเสริมการออมทรัพย์ของครูและนักเรียน

                5.ให้คำปรึกษาแนะนำกระตุ้นเร่งเร้าหรือเร่งงานอาชีพใหม่ๆ

                6.ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อจัดฝึกอาชีพใหม่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

                7.ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

                8.ส่งเสริมการผลิตและแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ

         ความสำคัญของครูต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรม

            1.  มีความเลื่อมใสศรัทธาในสิ่งที่ตนนับถือ

            2.  ศึกษาหาความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องในหลักธรรมคำสอนที่ตนนับถือ

            3.  นำหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติ

            4.  ปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ

            5.  ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน

            6.  กษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ

            7.  ลือกสรรวัฒนธรรมที่ดีงามเพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนอย่างเหมาะสม

            8.  ศึกษาหาวิธีที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้น

            9.  ปรับปรุงเนื้อหาสาระในวิชาการต่างๆ

            10. สอดแทรกวัฒนธรรมบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะด้านคติธรรม

            11. ครูและอาจารย์ทุกคนต้องร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์อยู่เสมอ

            12. ครูและอาจารย์ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาความคิดและเจตคติที่ดีต่อวัฒนธรรม

            13. ครูอาจารย์ทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างตามวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติ

            14 .ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ และนำผลการวิจัยเผยแพร่แก่ชุมชนให้มี                        ความรู้

             15.จัดห้องวัฒนธรรมในสถานศึกษาให้ทั่วถึง เพื่อเป็นที่รวบรวมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

ในอดีตครูมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมาก แต่ในปัจจุบันความสำคัญของครูเปลี่ยนไป มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ความสำคัญของครูในอดีตกับครูในปัจจุบันแตกต่างกัน เช่น

1. จำนวนครู
ในอดีต จำนวนครูมีน้อย คนที่จะมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีการคัดเลือกผู้ที่มี สติปัญญาดี และมีนิสัยเหมาะสมที่จะเป็นครู สามารถประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง แก่ลูกศิษย์ได้ ดังนั้น ความสำคัญของครูจึงมีมาก
ในปัจจุบัน การศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่ม จำนวนครูให้มากขึ้น และมีคนเป็นจำนวนมากที่มิได้ศรัทธาที่จะเป็นครู แต่จำเป็นต้อง ประกอบอาชีพนี้เพียงเพื่อให้มีโอกาสได้งานทำ จึงทำให้ครูบางคนมีพฤติกรรมที่ ไม่ เหมาะสมกับการเป็นครูไม่มีศรัทธาในวิชาชีพที่ทำอยู่
 2. หลักสูตรการสอน
ในอดีต “ตัวครู” คือ “หลักสูตร” ครูมีความสามารถในเรื่องใด หรือมีวิธีการ สอนอย่างใดก็สอนกันไปเช่นนั้น ครูมีความสำคัญมากในการที่จะดูแลปรับปรุงพฤติกรรม ของเด็ก
ในปัจจุบัน หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับต่าง ๆ มีมาก และแต่ละ สาขาวิชาก็จะมีครูเฉพาะสาขาวิชาทำการสอนในวิชานั้น ๆ อยู่ นักเรียนจะมีโอกาสได้ เรียนกับครูหลาย ๆ คน ทำให้ความผูกพันระหว่างครูกับนักเรียนลดน้อยลง นักเรียนจะ ไม่ค่อยเห็นคุณค่าความสำคัญของครูเท่าใดนัก            3. จำนวนนักเรียน
ในอดีต จำนวนประชากรมีน้อยกว่าปัจจุบันมาก ผู้ที่สนใจจะเรียนหนังสือก็ มีจำนวนไม่มาก ครูผู้สอนแต่ละคนสามารถดูแลอบรมนักเรียนได้อย่างทั่วถึง มีความ ผูกพันซึ่งกันและกัน
ในปัจจุบัน จำนวนนักเรียนในแต่ละระดับ แต่ละห้องมีมากขึ้น ครูบางคน ต้องสอนนักเรียนหลายห้อง เมื่อสอนหมดชั่วโมงหนึ่งก็ต้องรีบไปสอนต่ออีกห้องต่อไป ทำ ให้ความผูกพันใกล้ชิดกันระหว่างครูกับลูกศิษย์ลดน้อยลงตามลำดับ
4. อนาคตของศิษย์
ในอดีต คนที่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนเกือบทุกคนจะได้ดีมีงานทำ
ในปัจจุบัน คนที่เรียนหนังสือมีมากขึ้น เมื่อเรียนสำเร็จแล้วต้องแย่งกันหา งานทำ แต่งานมีจำนวนน้อย เพราะฉะนั้น คนที่เรียนสำเร็จแล้วไม่มีงานทำจะมีมากและ เป็นพวกที่ไม่เห็นความสำคัญของครูเท่าไรนัก
5. ความรู้สึกของศิษย์และผู้ปกครอง
 ในอดีต ลูกศิษย์เรียนจบมีงานทำดีๆ ทั้งลูกศิษย์และผู้ปกครองมักจะ นึกถึงบุญคุณครูที่เคี่ยวเข็ญและสั่งสอนมา   ในปัจจุบัน ลูกศิษย์มักจะไม่นึกถึงบุญคุณครูเท่าไรนัก เพราะครูไม่ได้ ใกล้ชิดสั่งสอนอบรมลูกศิษย์เช่นครูในอดีต
          จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ความสำคัญของครูในอดีตและปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงความสำคัญของครูมิได้ลดน้อยลงไปเลย ครูยังคงมีบทบาทและ ความสำคัญอยู่เสมอ เพียงแต่คนบางกลุ่มมิได้เห็นว่าครูมีความสำคัญต่อตนเช่นเดียวกับ ลูก ศิษย์ในสมัยก่อน
          แต่ไม่ว่าจะเป็นอดีต  ปัจจุบันหรืออนาคต  ครูย่อมมีความสำคัญต่อสังคม  ประเทศชาติและแม้แต่โลกกล่าวคือ  ตราบใดที่สังคมมนุษย์ยังสามารถผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคม  ความต้องการครูก็จะยังมีอยู่ตลอดไปมีข้อจำกัดอยู่แต่เพียงในเรื่องจำนวนและความสามารถของครูในด้านต่างๆทั้งนี้เพราะปัจจุบันโลกได้พัฒนาไปมากเช่นเดียวกัน  ดังนั้นความต้องการใช้ครูจึงต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมด้วย

สรุปเนื้อหาเรื่องความสำคัญของครู

 ความสำคัญของวิชาชีพครู

         อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งนั้น เป็นการยากที่ จะบ่งบอกว่า อาชีพใดสำคัญกว่าอาชีพใด แต่ในที่นี้เราจะพิจารณาเฉพาะอาชีพครูว่ามีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเพียงใด จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จ การศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ความตอนหนึ่งว่า
“.....อาชีพครูถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้านจึงสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้......”

     จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้ข้างต้น เป็น เครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของครูที่มีต่อความเจริญของบุคคล และชาติบ้านเมือง เป็นอย่างยิ่ง ชาติบ้านเมืองจะเจริญได้เพราะประชาชนในชาติได้รับการศึกษาที่ดี และมีครู ที่มีคุณภาพ
สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู

1.ครูคือนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
2.ครูคือผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
3.ครูคือทหารเอกของชาติ
4.ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
5.ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
6.ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง
7. ครู คือ ผู้สร้างโลก
8.ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
9.ครู คือ ปูชนียบุคคล
10.ครู คือ วิศวกรสังคม

      จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น ก็เพื่อที่จะสื่อถึงทุกคนให้ทราบว่า ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ล้วนมีครูด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีใครที่รู้โดยไม่มีครู สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะทรงได้รับการยกย่องให้ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก พระองค์ก็มีครู พระองค์เคยได้รับการอบรมสั่งสอนในฐานะศิษย์ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ จนเสด็จออกแสวงหาทางพ้นทุกข์ ในเบื้องต้นก็ยังต้องดำเนินมรรคาในฐานะศิษย์ของผู้รู้ในสมัยนั้น หากคุณความดีของบทความนี้จะพอมีประโยชน์แก่ผู้อ่านอยู่บ้างก็ขอน้อมเป็นเครื่องสักการะเพื่อบูชาคุณความดีของครูผู้ยิ่งใหญ่ มีบิดามารดา ครูและบูรพาจารย์ รวมถึงผู้ให้แสงสว่างชี้นำทางชีวิต ด้วยคารวะสูงยิ่ง
       ไม่ว่าครูจะมีความรู้ความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกันเพียงใด  แต่บทบาทของครูโดยส่วนรวมแล้ว จะยังอยู่ในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ นอกจากครูจะต้องรับบทบาทเป็นผู้สอนคนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการต่างๆ  แล้ว  ครูยังจะต้องรับบทบาทในการพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆอีก  เช่นการพัฒนาสังคม  การเมือง  เศรษฐกิจ  ศาสนาและวัฒนธรรม  เป็นต้น  ดังนั้น  ครูจึงต้องรับบทหนักทั้งในอดีตและปัจจุบัน  และเป็นบทบาทในการสร้างสังคมในด้านต่างๆให้มีความเจริญก้าวหน้า  จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีผู้ให้สมญานามแก่ครูว่าเป็น  วิศวกรสังคม  ซึ่งหมายถึง  ช่างผู้ชำนาญในการสร้างสังคมนั่นคือ  หากครูให้การศึกษาแก่สมาชิกแก่สังคมอย่างไร  สังคมก็จะเป็นอย่างนั้น  เช่น  ให้การศึกษาเรื่องระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง  สังคมก็จะเป็นประชาธิปไตย  หากครูให้การศึกษาในระบอบอื่นสังคมก็จะเป็นเช่นนั้นด้วย


หน้าที่และความรับผิดชอบของวิชาครู

ความหมายของ หน้าที่ความรับผิดชอบ และ หน้าที่และความรับผิดชอบของครู

     Collins cobuild Dictionary English Language (1987 : 442, 1574) ความหมายของหน้าที่ (Duty) ว่าหน้าที่คือ ภารกิจที่ต้องกระทำ เพราะว่า หน้าที่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของงานตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายหรือคาดหวังในสังคม

    ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นภาวะผูกพันที่มีในแต่ละบุคคลอันเนื่องมาจากงานหรือตำแหน่งหน้าที่     อาจสรุปความหมายของ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และ หน้าที่และความรับผิดชอบของครูได้ดังนี้
    หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องกระทำหรือกิจที่พึงกระทำ อาจจะเป็นการกระทำตามกฎหมาย จริยธรรม สามัญสำนึก หรือข้อตกลงใดๆก็ได้

                ความรับผิดชอบ หยามถึง ภาระหรือความผูกพันต่อผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือการกระทำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียหายก็ตาม ความรับผิดชอบเป็นความผูกพันที่ทำให้บุคคลพยายามปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สำเร็จ ทั้งยังเป็นความผูกพันที่ทำให้บุคคลไม่ประพฤติผิดต่อกฎเกณฑ์หรือระเบียนใดๆ อีกด้วยความรับผิดชอบนั้นแสดงให้เห็นในลักษณะของการปฏิบัติหน้าที่อย่างเสมอ ไม่หลีกเลี่ยงและปฏิบัติภารกิจทันเวลาที่กำหนด

        หน้าที่ความรับผิดชอบของครู หมายถึง กิจที่ครูต้องกระทำให้ได้ผลดีโดยสม่ำเสมอ การกระทำของครูเพื่อให้ผลดีได้นั้นต้องอาศัยพื้นฐานของกฎระเบียน แบบธรรมเนียม จริยธรรม จรรยาบรรณและคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญด้วย

       อาจกล่าวได้ว่าความรับผิดชอบในหน้าที่ของครูเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของครูที่สังคมคาดหวังเป็นภารกิจที่สังคมมอบหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูกระทำ และเป็นพันธกิจผู้เป็นครูมอบให้กับสังคม

    หน้าที่ของครูในแง่คุณลักษณะที่ประสงค์นั้น รัญจวน อินทรกำแหง (2529:27) สรุปไว้ดังนี้

    1. ครูเป็นผู้ที่สามรถให้ทางแห่งความรอดแก่ศิษย์ ความรอดมีอยู่สองทาง คือ ทางรอดทางกายและ             ทางรอดทางใจ

     2. ครูต้องสามารถดำรงความเป็นครูอยู่ได้ทุกอิริยาบถ

     3. ครูต้องสามารถเป็นตัวอย่างตามกำสอนแก่ศิษย์ สอนอย่างไรทำอย่างนั้น

                การพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบในเชิงของกฎระเบียนข้อบังคับที่ค่อนข้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบทบัญญัติต่างๆ เป็นลักษณะที่ค่อนข้างบังคับว่าครูต้องกระทำกิจเหล่านั้น ส่วนการพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในอีกด้านหนึ่งนั้นก็เป็นการพิจารณาหน้าที่ของครูในเชิงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นไปตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมและจารีตประเพณี



ลักษณะของหน้าที่และความรับผิดชอบของครู

 หน้าที่ความรับผิดชอบของครูมี 2 ลักษณะดังนี้

 1.หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติหรือกฎหมายกำหนด

                หน้าที่ความรับผอดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติอาจพิจารณาได้จากระเบียนปฏิบัติทางราชการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นและได้ประกาศใช้โดยหน่วยงานของราชการของรัฐ เช่น ระเบียนคุรุสภาว่าด้วย จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 ประกาศจรรยาบรรณครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ หรือระเบียนคุรุสภาว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยต่างๆ

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องสัมพันธ์ด้วยนั้น อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์ ต่อสถาบันวิชาชีพครูอันได้แก่ เพื่อนครูและสถานศึกษา และหน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อสังคมอันได้แก้ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน หน้าที่ความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติหรือกฎหมายกำหนดมีดังนี้

1.1 หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญเป็นอันดับแรก อาจสรุป      หน้าที่ของครูต่อศิษย์ได้ดังนี้
1.1.1 ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่
1.1.2 อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานมิได้
1.1.3 ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการ                ของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อศิษย์
1.1.4 สุภาพเรียบร้อย ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
1.1.5 รักษาความลับของศิษย์
1.1.6 ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลัใจในการศึกษาเล่าเรียน            แก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
1.1.7 ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่าง            เต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
1.1.8 ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางการ วาจาและจิตใจ
1.1.9 ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของ                ศิษย์
1.1.10 ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้            ให้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
1.2  หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อสถาบันวิชาชีพครูอันได้แก่ ตนเองเพื่อนครูและสถานศึกษา

                ในการประกอบวิชาชีพครู โดยทั่วไปจะเป็นการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้น ฉะนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูจะต้องมีต่อตนเอง และเพื่อนร่วมงานทั้งในระดับผู้บังคับบัญชา และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษา ซึ่งอาจจะแยกแยะได้ดังนี้

1.2.1 ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูด้วยกันในทางสร้างสรรค์ เช่น การแนะนำแหล่งวิทยาการให้กัน แลก                  เปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาชีพซึ่งกันและกัน
1.2.2 รักษาความสามัคคีระหว่างครู และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก            คิดทำลายกลั่นแกล้งซึ่งกันและกัน เต็มใจช่วยเหลือเมื่อเพื่อนครูขอความช่วยเหลือ เช่น เป็น                    วิทยากรให้แก่กัน ช่วยงานเวรหรืองานพิเศษซึ่งกันและกัน
1.2.3 ไม่แอบอ้างหรือนำผลงานทางวิชาการของเพื่อนครูมาเป็นของตนทั้งยังต้องช่วยเหลือให้เพื่อนครู            อื่นๆ ได้สร้างสรรค์งานวิชาการอย่างเต็มความสามารถด้วย
1.2.4 ประพฤติตนด้วยความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน และให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ว่าจะสังกัดหน่วยงาน            ใด
1.2.5 ปฏิบัติตามระเบียบ และแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับ                  บัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
1.2.6 รักษาชื่อเสียงของตนไม่ให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว ไม่กระทำการใดๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสีย                        เกียรติศักดิ์และชื่อเสียงของครู
1.2.7 ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์            สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
1.2.8 ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ            เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
1.2.9 ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
1.3 หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อสังคมอันได้แก่ ผูปกครองนักเรียนและชุมชน

      หน้าที่ความรับผิดชอบของครูนั้นย่อมอยู่ที่ศิษย์เป็นเป้าหมายสำคัญ แต่การสร้างเสริมศิษย์นั้นยังมีปัจจัยที่เกี่ยวอย่างอื่นด้วยคือผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ครูจึงต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อสถาบันทั้งสองนั้นด้วยซึ่งอาจแยกแยะ ได้ดังนี้

1.3.1 ครูต้องเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์          ใจ
1.3.2 ครูต้องยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือและไม่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
1.3.3 ครูต้องให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการอบรมสั่งสอนศิษย์อย่างใกล้ชิดตลอดจนการร่วมแก้                  ปัญหาของศิษย์ทุกๆด้าน ทั้งด้านการศึกษาเล่าเรียน ความประพฤติ สุภาพพลานามัย ปัญหาทาง              จิตใจ ฯลฯ
1.3.4 ครูต้องให้คำปรึกษาหารือและแนะนำผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในปกครองอย่างใกล้ชิด                ตลอดจนแนะแนวการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพของศิษย์
1.3.5 ครูต้องรายงานข้อมูลต่างๆ ของศิษย์ให้ผู้ปกครองทราบสม่ำเสมอและถูกต้องไม่บิดเบือน
1.3.6 ครูพึงให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ปกครองและชุมชนในทางสร้างสรรค์ตามความเหมาะสม
1.3.7 ครูพึงประพฤติเป็นผู้นำในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน
1.3.8 ครูพึงร่วมพัฒนาชุมชนทุกๆด้าน ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ ในการดำเนินชีวิตแก่                    สมาชิกทุกคนในชุมชน

 2. หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียม

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมนี้ เป็นหน้าที่ที่สังคมคาดหวังให้ครูปฏิบัติ เป็นสำนึกที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย ดังจะศึกษาได้จาก ความเป็นครูสถิตในหทัยราช ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาค้นคว้าของ เรืองวิทย์ ลิมปนาท (2538 : 23-38) ในบทที่ว่าด้วย แนวพระราชดำริด้านการศึกษาและความเป็นครู ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลนเดช จะเห็นได้ว่าพระบรมราโชวาทในวาระและในโอกาสต่างๆนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถึงบทบาทหน้าที่ของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมสอดแทรกไว้ด้วยเสมอๆ

                นอกจากพิจารณาจากพระบรมราโชวาทต่างๆแล้ว อาจพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมได้จากคำสอนในหมวดธรรมเรื่อง การอนุเคราะห์ศิษย์ 5 ประการ ซึ่งวงการครูไทยยึดเป็นแบบปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานดังนี้

2.1 แนะนำสั่งสอนดี ครูย่อมมีหน้าที่ในการแบะนะสั่งสอนวิทยาการต่างๆ โดยต้องรับผิดชอบด้วยการสั่งสอนดี ได้แก่ สอนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ สอนได้ชัดเจนหรือให้เป็นรูปธรรม สอนให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเล่าเรียนโดยมีกำลังใจและมั่นใจที่จะเรียนและสอนให้สนุกให้ศิษย์เรียนได้อย่างไม่เบื่อหน่ายหรือสรุปสั้นๆว่า ชี่ให้ชัด ชวนปฏิบัติลงมือกระตือรือร้น แจ่มใสสนุก

2.2 ให้การศึกษาเล่าเรียนดี ครูต้องเป็นผู้จัดสถานการณ์ เพื่อให้ศิษย์ได้ศึกษาเล่าเรียนได้ดี ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้ศิษย์ ตลอกจนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้ศิษย์ศึกษาเล่าเรียนได้ดี

2.3 บอกศิลปะให้สิ้นเชิงไม่ปิดบังอำพราง ครูต้องรับผิดชอบในศิลปะวิทยาการที่ตนสอน ต้องสอนในสิ่งที่ถูกต้อง มีความบริสุทธิ์ใจในการอบรมสั่งสอนไม่บิดเบือนวิชาการ

2.4 ยกย่องให้ปรากฎในหมู่เพื่อน ครูต้องช่วยเร้าหรือเสริมกำลังใจให้แก่ศิษย์ในการศึกษาเล่าเรียน ศิษย์แต่ละคนย่อมมีความสามารถและความถนัดในบางด้าน ครูต้องช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษนั้นให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ครูต้องไม่ทำลายความภาคภูมิใจในตนเองของศิษย์

2.5 ป้องกันภัยในทิศทั้งหลาย ครูมีหน้าที่ป้องกันศิษย์โดยการแนะนำสั่งสอนให้รู้จักคุณและโทษทางสิ่งต่างๆในชีวิต ป้องกันศิษย์ไม่ให้ตกไปในทางอุบายทุกอย่าง ซึ่งอาจทำได้ทั้งการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อม คอยดูและให้ห่างไกลจากภัยทั้งหลาย



หน้าที่และความรับผิดชอบของครู

          อาจวิเคราะห์หน้าที่ของครูจากระเบียนปฏิบัติราชการ การศึกษาสัมมนา และการวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของครูตามลักษณะงานครู หน้าที่ความรับผิดชอบของครุจากงานวิจัยต่างๆ ดังเช่น เฉลียว บุรีภักดีและคณะ (2520 : 235-240) วิจัยเรื่องลักษณะของครูที่ดีและสรุปได้ว่า ครูที่ดีจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

1.        หมั่นอบรมเด็กอยู่เสมอ

2.        ตั้งใจสอน รักการสอน

3.        จัดการปกครองให้เป็นที่เรียบร้อย

4.        เตรียมการสอน และทำการบันทึกการสอน

5.        หมั่นวัดผลและติดตามผลการเรียน

6.        รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

7.        ช่วยให้คะแนะนำแก่เด็กด้วยความเต็มใจ

8.        สอนให้เด็กเป็นประชาธิปไตย

9.        ทำบัญชีรายชื่อ และสมุดประจำชั้น

10.      ดูแลบำรุงรักษาห้องเรียนและอาคารสถานที่

11.      เกี่ยวกับการสอน การอบรม การวัดผล

12.      เกี่ยวกับธรุการและระเบียนวินัย

13.      ค้นคว้าเพิ่มเติมและหาความรู้ใหม่ๆมาสอน

14.      สอนให้เด็กเป็นคนดี

15.      หมั่นหาความรู้และวิธีการหาความรู้

16.      เป็นตัวอย่างแก่เด็ก

17.      จัดการแนะแนวที่ดีแก่เด็ก

18.      ช่วยงานสารบรรณและธุรการโรงเรียน

19.      เอาใจใส่เด็ก

20.      บริการโรงเรียน

21.      เป็นครูประจำชั้น

22.      ทำระเบียนและสมุดรายงานนักเรียน

23.      มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

24.      ร่วมกิจกรรมชุมชน

25.      สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

26.      เอวใจใส่และพยายามเข้าใจปัญหาและความต้องการของเด็ก

27.      ช่วยประชาสัมพันธ์กิจการของโรงเรียนได้ดี

        จากหน้าที่และความรับผิดชอบของครูดังกล่าวแล้วนั่น อาจสรุปเป็นข้อสำคัญ โดยเทียบกับพยัญชนะ จากคำว่า TEACHERS ซึ่งในที่นี่ สรุปได้ดังนี้

                T = Teaching and Training             การสั่งสอนและการฝึกฝนวิทยาการ

                E = Ethics Instruction                      การอบรมคุณธรรมและจริยธรรม

                A = Action Research                         การวิจัยและการศึกษาค้นคว้า

                C = Cultural Heritage                       การถ่ายทอดวัฒนธรรม

                H = Human Relationship                 การสร้างมนุษย์สัมพันธ์

                E = Extra Jobs                                    การปฏิบัติงานที่พิเศษต่างๆ

                R = Reporting and Counselling     การรายงานผลนักเรียนและการแนะแนว

                S = Student Activities                      การจัดกิจกรรมนักเรียน

                หน้าที่ในการสั่งสอนและฝึกฝนวิทยาการ (Teaching and Training) ภารกิจประการแรกสุดและสำคัญที่สุดของผู้ประกอบวิชาชีพครูคือการสั่งสอนวิชาความรู้และการฝึกฝนวิทยาการให้กับศิษย์ ไม่ว่าหลักสูตรหรือปรัชญาการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรผู้เป็นครูก็จะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเล่าเรียน คุณภาพที่เด่นที่สุดของครูก็คือการสอนครูที่สอนดีคือครูที่รู้วิธีฝึกฝนศิษย์ให้มีความรู้ความเข้าใจวิชาที่เรียน การสอนของครูในยุคโลกาภิวัตน์ รุ่ง แก้งแดง (2541 : 140-146) เสนอกระบวนการสอนไว้ 10 ขั้นตอน ดังนี้

                1.ศึกษารวบรวมข้อมูลของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูต้องศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อทำความรู้จักกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดูพัฒนาการของเด็ก ดูข้อมูลภูมิหลังพื้นความรู้ความสามารถทางการเรียน และความต้องการของผู้เรียน

                2.วิเคราะห์เพื่อค้นหาศักยภาพของผู้เรียน โดยใช้จิตวิทยาการเรียนรู้หรือเทคนิคพหุปัญญา (Multiple Intelligence) เพื่อดูว่าผู้เรียนมีศักยภาพทางปัญญาด้านไหนมากน้อยเท่าใด ครูก็จะสามารถช่วยเหลือแนะนำเพื่อจัดการศึกษาให้เสอดคล้องกับศักยภาพและความสามารถของผู้เรียนได้ การวิเคราะห์เช่นนี้ครูจะสามารถช่วยทั้งผู้เรียนที่มีสติปัญญาสูงโดยส่วนรวม หรือมีความพิการเบื้องต้น ด้านใดด้านหนึ่งก็สามารถที่จะพัฒนาไปได้เต็มตามศักยภาพ

                3.รวมกับผู้เรียนในการสร้างวิสัยทัศน์ ครูกระตุ้นความต้องการของผู้เรียนได้โดยการช่วยเด็กสร้างวิสัยทัศน์หรือความฝันที่จะไปให้ไกลที่สุด เพื่อที่จะสร้างพลังและแรงจูงใจ

                4.ร่วมวางแผนการเรียน การเรียนเป็นสิทธิความรับผิดชอบของผู้เรียนหน้าที่ของครูก็คือเป็นผู้ร่วมวางแผน เป็นผู้ให้คำแนะนำในฐานะผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์มากกว่า แต่การวางแผนการเรียนจริงๆ นั้นต้องเป็นเรื่องของผู้เรียน เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

                5.แนะนำช่วยเหลือเรื่องการเรียน เป็นขั้นตอนที่จะเข้ามาทดแทนขั้นตอนการสอนเดิม คือแทนที่ครูจะบอกเนื้อหาให้แบบเดิม ครูก็เพียงแต่แนะนำเนื้อหาบางส่วนและวิธีการเรียนให้ผู้เรียน

                6.สรรหาและสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ ครูเป็นผู้สนับสนุนสรรหาสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ จัดหาเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้ประกอบการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้

                7.ให้ผู้เรียนสร้างความรู้เอง เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขั้นตอนนี้อาจเป็นเรื่องยากและเรื่องใหม่สำหรับครู เพราะครูที่คุ้นอยู่กับการสอนแบบเดิมจะไม่อดทนที่จะปล่อยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะหันกลับไปใช้วิธีบอกให้จำอย่างเดิม

                8.เสริมพลังและสร้างกำลังใจ หน้าที่ของครูอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องเสริม พลังแก่ผู้เรียน อธิบายหรือแนะนำเพื่อให้ ผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะเรียนต่อไป ครูต้องใช้ทุกวิธีที่จะกระตุ้นเพื่อสร้างความสนใจให้เรียนต่อไปได้

                9.ร่วมการประเมินผล หน้าที่ของครูในขั้นประเมินผลคือ จะไม่วัดผลฝ่ายเดียวแบบเดิม แต่ให้คำแนะนำเรื่องการวัดและประเมินผล โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง เพื่อดูว่าสามารถเรียนได้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนมากน้อยเพียงใด ถ้าผู้เรียนยังไม่บรรลุผลตามที่วางไว้ก็จำเป็นที่จะต้องกลับไปวางแผนและแก้ไขใหม่

                10.เก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะเป็นข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขการเรียนต่อไป

                ระบบการเรียนการสอนอย่างนี้ใช้มากในต่างประเทศที่ได้ปฏิวัติให้ครูทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวก และประสบความสำเร็จมาแล้ว ในวงการแพทย์ก็ใช้วิธีนี้ คือเป็นระบบให้คนไข้ดูแลตัวเองและพบว่าคนคนไข้ดูแลตัวเองได้ดีกว่าที่แพทย์ทำให้ เพราะชีวิตเป็นคนไข้แพทย์เป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำเรื่องการรักษา

                ครูที่สอนตามกระบวนการดังกล่าวมานี้จะมีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ภาพที่ครูยืนอยู่หน้าชั้นใช้เพียงชอล์กกับกระดานและบอกให้เด็กท่องจำ จะกลายเป็นอดีตไปอย่างสิ้นเชิง ครูยุคใหม่จะมีบทบาทเป็น”ผู้อำนวยความสะดวก” (Facilitator) ผู้ให้คำแนะนำและเสริมพลังแก่นักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

                การสอนเป็นศาสตร์ที่มีกฎเกณฑ์ลำดับและระบบ ศาสตร์แห่งการสอนเป็นวิทยาการที่ศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝนให้แกร่งกล้าได้

                สำหรับศิลปะแห่งการสอนของครูไทยนั้นพระเทพวิสุทธิ (พุทธทาสภิกขุ 2529:139-143) อธิบายไว้ในหัวข้อเรื่อง องค์ประกอบเกี่ยวกับการสอน ดังนี้

                1.สอนเท่าที่ควรสอน การสอนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรนั้น ครูสามารถกำหนดเนื้อหาสาระได้มากมาย ฉะนั้นในการสอนแต่ละครั้งครูต้องกำหนดเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระยะเวลาในการสอนดังที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า “สิ่งที่ตถาคตตรัสรู้ เท่ากับใบไม้ทั้งป่า เอามาสอนพวกเธอนี้เท่ากับใบไม้กำมือเดียว” ตามนัยแห่งความหมายก็คือ ให้เรียนเท่าที่ควรเรียน นั่นเอง

                2.สอนอย่างชัดเจน ครูจะสอนเรื่องอะไร ก็ต้องสอนอย่างชัดเจน บอกให้หมดว่าสิ่งนั่นคืออะไร สิ่งนั้นเป็นอย่างไร เปรียบเทียบได้กับสิ่งใด มีกี่อย่าง กี่ประเภท กี่ลักษณะ ไม่สอนให้ออกนอกเรื่อง

                3.สอนอย่างมีเหตุผลอยู่ในตัว หมายความว่าคำสอoนั้นมีเหตุผลชัดเจน มีหลักเกณฑ์ มีคำอธิบายให้พอใจ

                4.สอนชนะน้ำใจผู้เรียน หมายความว่าต้องสอนให้ผู้เรียนหมดปัญหาหมดข้อสงสัย มีคำอธิบายที่ทำให้หมดแง่ที่จะคัคค้านหรือโต้เถียง ผู้เรียนยอมรับ หรือยอมปฏิบัติตามครู

                5.สอนให้เกิดความร่าเริง หมายความว่าทั้งผู้สอนและผู้เรียน สนุกสนานในการศึกษาเล่าเรียน ไม่หงอยเหงาหรือไม่ใช่ทนฟัง ทนจำ ทนท่อง ต้องสอนให้เกิดความพอใจ

                6.สอนให้ผู้ฟังเกิดความกล้าในการที่จะปฏิบัติตาม การสอนให้เกิดความกล้า ยิ่งเรียนยิ่งกล้าอยากที่จะปฏิบัติตาม การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติจะส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกได้ด้วยตนเอง

                หน้าที่อบรมคุณธรรมและจริยธรรม (Ethics Instruction) ภารกิจสำคัญอีกประการที่สังคมคาดหวังไว้ก็คือการอบรมจริยธรรมให้แก่ศิษย์ จริยธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมต่างจากสัตว์ ครูเป็นผู้อบรมกติกาสังคมกฎเกณฑ์ของสังคม ตลอดจนกิริยามารยาทที่สังคมพึงประสงค์ให้ศิษย์ โดยทั่วไปการอบรมจริยธรรมนั้นมีหลักการสำคัญคือ ครูต้องสั่งสอนสิ่งที่ควรกระทำ สิ่งที่ควรปฏิบัติให้ก่อน ให้เข้าใจวิธีการกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกที่ควร แล้วให้ศิษย์ได้ปฏิบัติได้ฝึกฝนจนได้รับรู้ผลจากการปฏิบัติดีตามนั้น ให้มีประสบการณ์ตรงว่าการประพฤติดีนั้นทำให้มีความสุขได้

                หน้าที่วิจัยและศึกษาค้นคว้า (Action Research) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตัวศิษย์ ครูจึงมีหน้าที่ต้องแสวงหาคำตอบในสภาพการทางการศึกษาทุกๆ ด้านของนักเรียน ครูจึงตองศึกษาค้นคว้าและวิจัย งานทุกด้านที่เกี่ยวกับห้องเรียน โรงเรียนและตัวนักเรียนตลอดจนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอโดยการลงมือ กระทำ

                หน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรม (Cultural Heritage) สังคมคาดหวัง ให้ครูเป็นผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้กับเยาวชน ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ของสังคมต่อจากพ่อแม่และครอบครัว หน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกของสังคมนี้ครอบคลุมทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดี การส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดี และ การพัฒนาวัฒนธรรม เช่น การสัมมาคารวะ ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การใช้ภาษา กิริยามารยาททางสังคม ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการรณรงค์สร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดีแก่สังคม เช่น วัฒนธรรมทางการเมือง วัฒนธรรมทางการจราจร การมีวินัยต่างๆ หน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้เป็นงานสร้างสังคมหรือสร้างชาติของครูนั่นเอง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลในสังคมมากมายตั้งแต่นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อนครู ผู้บังคับบัญชา บุคลากรในหน่วยงาน บุคลากรในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องด้วย ครูต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวแต่ละกลุ่มเพื่อประโยชน์ของนักเรียนและสถานศึกษา

                หน้าที่การปฏิบัติงานพิเศษต่างๆ ขององค์กร (Extra Jobs) หน้าที่ของครูที่นอกเหนือจากการสอน การอบรมและพัฒนาลูกศิษย์แล้ว ครูจำนวนมากต้องมีงานบางอย่างที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย  เป็นงานสนับสนุนการศึกษา เช่น งานธุรการโรงเรียน งานบรรณารักษ์ งานปกครอง งานอาหารกลางวัน งานตามระเบียบราชการ การตรวจเวรยาม การทำงานนอกสถานที่ ฯลฯ ซึ่งงานต่างๆ เหล่านี้บางลักษณะงานก็จำเป็นต้องใช้ความสามารถพิเศษบางประการของครู ครูจึงจำเป็นต้องศึกษา ฝึกฝน ความสามารถพิเศษบางอย่างไว้ด้วย เช่น งานคอมพิวเตอร์ ดนตรี ศิลปะ

                หน้าที่ในการรายงานผลนักเรียนและการแนะแนว (Reporting and Counselling) ครูต้องรายงานผลการพัฒนาของศิษย์ทุกๆ ด้านต่อผู้ปกครองและผู้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอครูต้องมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการวัดผลและประเมินผลทั้งสามารถรายงานผลได้อย่างถูกต้องทั้งทางด้านการศึกษาเล่าเรียน ความประพฤติ สุขภาพอนามัย และลักษณะนิสัยของนักเรียน นอกจากการรายงานผลซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติแล้ว ครูยังต้องเป็นผู้ช่วยร่วมแก้ไขและป้องกันไม่ให้ศิษย์ล้มเหลวในการศึกษาและพัฒนาการด้านต่างๆ โดยการเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือทั้งกับตัวศิษย์และผู้ปกครองด้วย ทั้งการรายงานผลและแนะแนวต้องทำสม่ำเสมอและตรงเวลา

                หน้าที่จัดกิจกรรมนักเรียน (Student Activities) ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ ของศิษย์ การจะพัฒนาให้ศิษย์มีประสบการณ์ที่เหมาะสมนั้น ครูต้องเป็นผู้จัดสภาพการณ์หรือกิจกรรมให้เหมาะสมนั่นเอง กิจกรรมนักเรียนที่ครูต้องการจัดมีตั้งแต่กิจกรรมในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อให้ศิษย์มีโอกาสนำสิ่งที่เรียนในห้องเรียนไปใช้ และกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ โลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางซึ่งจะช่วยให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสำเร็จในชีวิต


หน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงประสงค์ของครู

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครู ดังกล่าวแล้วทั้งหมดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของศิษย์ ของตัวผู้ประกอบวิชาชีพครูและสังคมซึ่งได้แก่หน่วยงานทางการศึกษาที่ครูสังกัดตลอดจนประเทศชาติ ครูที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ครู งานครู และมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ย่อมเป็นครูที่มีความเป็นครูโดยแท้จริง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ครูเป็นไปอย่างมีคุณภาพสมกับเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่สังคมประสงค์ คุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรที่มีกฎหมายรองรับได้ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 11 ข้อ เรียกว่า เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2537 และได้ประสานงานกับสำนักงานข้าราชการครู (ก.ค) ให้ใช้เกณฑ์นี้ในการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมงานบุคคล โดยใช้เป็นมาตรฐานในการคัดเลือกข้าราชการครูเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของกระทรวง

เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2537

                มาตรฐานที่1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการเข้าร่วมกิจกรรม                    ทางวิชาการ ที่องค์กรหรือหน่วยงานหรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม การอบรม การสัมมนา                  และการประชุมปฏิบัติการ

                มาตรฐานที่2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดย คำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
หมายถึง การเลือกแนวทางปฏิบัติอย่างชาญฉลาด ด้วยความรัก และความหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้นในการ                  เลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ ที่จะเกิดแก่ผู้เรียน                  เป็นหลัก

                มาตรฐานที่3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของครู ที่จะให้ผู้เรียนให้มากที่สุด ตามความถนัด                  ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนปรับ                  เปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆ ตาม                            ศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ

                มาตรฐานที่4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
หมายถึง การเลือกใช้ปรับปรุง หรือสร้างแผนการสอนบันทึกการสอน หรือ เตรียมการสอนใน ลักษณะ                      อื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุ ประสงค์ของการเรียนรู้

                มาตรฐานที่5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
 หมายถึง การประดิษฐ์ คิดค้น ผลิต เลือกใช้ ปรับปรุง เครื่องมืออุปกรณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ เทคนิควิธี                          การต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้

                มาตรฐานที่6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
หมายถึง การจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามสภาพ                    ความแตกต่างของบุคคล ด้วยการปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง
               ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพติดต่อผู้เรียนตลอดไป

                มาตรฐานที่7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
หมายถึง การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนได้ครอบคลุมสาเหตุ                      ปัจจัย และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้

1.             ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน

2.             เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน                     และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้นๆ

3.             ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการกำหนด ที่เกิดกับผู้เรียน

4.             ขอเสนอแนะแนวทางใหม่ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

                มาตาฐานที่8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
หมายถึง การแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติ ในด้านบุคลิกภาพทั่วไปการแต่งกาย กิริยา วาจา และ                    จริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธา และถือเป็น                   แบบอย่าง

                มาตรฐานที่9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับความรู้ความสามารถ ให้ความร่วมมือใน                  การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถาน                    ศึกษาและร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น

                มาตรฐานที่10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
หมายถึง การตระหนักใน ความสำคัญรับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถของ                                    บุคคลอื่นใน ชุมชน และร่วมมือปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา ให้ชุมชนและสถาน                  ศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ

                มาตรฐานที่11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสาร ในการพัฒนา
หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน โดย                        เฉพาะ สารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูล                      ประกอบการแก้ปัญหาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม

                คุรุสภาได้จัดทำชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเองของครู สำหรับใช้พัฒนาครูให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานนี้  และได้ทดลองใช้กับครูจำนวน 750 คน ใน 5 จังหวัด ปรากฏว่าครูที่เข้าร่วมโครงการทดลองได้รับความพึงพอใจ และเชื่อว่าการฝึกอบรมนี้เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพครูอย่างแท้จริง

                สำหรับหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมนั้น การประพฤติปฏิบัติของครู อาจพิจารณาตามแนวพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้ ความหมายของ ความเป็นครู ไว้ในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2522 ว่า

                “ความเป็นครู หมายถึง การมีความรู้ดีประกอบด้วยวิชาที่ถูกต้องแน่นแฟ้นและแจ่มแจ้งแก่ใจ รวมทั้งคุณความดีและความเอื้ออารี ปรารถนาที่จะถ่ายทอดเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีด้วย ความแจ่มแจ้งแน่ชัดในใจย่อมทำให้สามารถส่องแสดงความรู้ออกมาให้เข้าใจตามได้โดยง่ายทั้งในการปฏิบัติงานก็ย่อมทำให้ผู้ร่วมงานได้เข้างานโดยแจ่มชัด ส่วนความหวังดีโดยบริสุทธิ์ใจนั้น จะน้อมนำให้เกิดศรัทธาแจ่มใสมีใจพร้อมที่จะรับความรู้ด้วยความเบิกบาน ทั้งพร้อมที่ร่วมกับผู้อื่นที่มีคุณสมบัติของครูโดยเต็มใจและมั่นใจ ดังนี้ ก็จะทำให้กิจการใดๆที่กระทำอยู่ดำเนินไปโดยสะดวกราบรื่นและสำเร็จประโยชน์ที่มั่งหมายโดยสมบูรณ์”

สรุปเรื่องหน้าที่ของครู

                โดยวัฒนธรรมไทยนั้นสังคมจะยกย่องครูให้อยู่ในฐานะที่สูงอยู่แล้ว เพราะสังคมไทยเคารพว่าผู้เป็นครูย่อมเป็นผู้มีวิชาแกร่งกล้าสามารถสอบผู้อื่นได้ ทั้งต้องเป็นผู้มีจิตใจเอื้ออารีมีเมตตาและปรารถนาดีต่อผู้อื่น จึงยอมถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ ฉะนั้นในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมไทย ครูต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อศิษย์ โดยสั่งสอนให้ศิษย์มีความรู้ เข้าใจสิ่งที่เรียน ให้สามารถนำวิชาที่เรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อวิชาของครูด้วย คือต้องมีความรู้จริง รู้สึกซึ้งแจ่มแจ้งจนสามารถสอนให้ศิษย์เข้าใจตามได้โดยง่าย ประการสุดท้ายครูต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบต่องานและผู้ร่วมงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทั้งยังช่วยให้ผู้ร่วมงานทำงานอย่างสมบูรณ์ด้วยนั่นเอง

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครูมีมากมายหลายด้าน แต่อาจกำหนดภารกิจเป็นลักษณะงานได้ 8 ด้าน คือ งานสั่งสอนและฝึกฝนวิทยาการ งานอบรมคุณธรรมและจริยธรรม งานวิจัยและการศึกษาค้นคว้า งานถ่ายทอดวัฒนธรรม งานมนุษย์สัมพันธ์ งานหน้าที่พิเศษต่างๆ งานรายงานผลนักเรียนและการแนะแนว และงานกิจกรรมนักเรียน ซึ่งหากว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูสามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน ให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้ทุกงานดังกล่าวก็ได้ชื่อว่าเป็นครูผู้มีความรับผิดชอบ และหากว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูปฏิบัติด้วยใจ มุ่งมั่น และมีสำนึกก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเป็นครูที่ประสบความสำเร็จในอาชีพครู อย่างไรก็ตามสำหรับครูในยุคโลกาภิวัตน์นี้ ได้มีกรอบหรือกฎเกณฑ์สำหรับกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู เป็นวิธีการตรวจสอบที่เป็นรูปธรรมโดยคุรุสภาซึ่งเป็นองค์วิชาชีพครู เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูดังกล่าวมี 11 มาตรฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การจักกระบวนการในการเรียนการสอนให้กับศิษย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะหน้าที่หลักของครูนั้นย่อมอยู่ที่ศิษย์ ความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของครูก็เป็นความรับผิดชอบที่มีต่อศิษย์นั่นเอง


 การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
        1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
        2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
        3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
        4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
        5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
        6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

 วินัยและการรักษาวินัย

    1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
    2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น
    3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด          
    4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถืประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ          
    5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง          
    6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
   7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ    
   8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง          
   9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่รชการของตน            
 10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง            
  11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท            
  12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
   13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว                
       

 คุณธรรม จริยธรรมของครู
                         
        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร            
        2.ครูต้องมีวินัยตนเอง          
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง        
        4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น      
        5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน        
        6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์      
        7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น          
        8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที          
        9.ครูต้องไม่ประมาท          
       10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี    
       11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ          
       12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา  
       13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น          
       14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์      
       15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา      
       16.ครูต้องมีการให้อภัย          
       17.ครูต้องประหยัดและอดออม          
       18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่          
       19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ        
       20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


สมรรถนะของครู

     การประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะจะต้องประเมินสมรรถนะ 2 ด้าน ดังนี้

1.    สมรรถนะหลัก ประกอบด้วย
1.1  การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้มีคุณภาพถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์        มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
1.2  การให้บริการที่ดี ได้แก่ ความตั้งใจในการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนอง                ความต้องการของผู้รับบริการ
1.3  การพัฒนาตนเอง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในวง          วิชาการและวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
1.4  การทำงานเป็นทีม ได้แก่ การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือสนับสนุน เสริมแรงให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วม          งาน การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นหรือแสดงบทบาทผู้นำ ผู้ตาม ได้อย่างเหมาะสม
2.    สมรรถนะประจำสายงาน
2.1  การออกแบบการเรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้และ          นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างได้ผล
2.2  การพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสุขภาพกาย          จิตที่ดีให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.3  การบริหารจัดการชั้นเรียน ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอน การทำข้อมูลสารสนเทศและ            เอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชาและการกำกับชั้นเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพและ                    สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น

 จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

        1.ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ

        2.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการ                           พัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
        3.ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
        4.ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่              อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
        5.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
        6.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของ               ศิษย์ หรือผู้รับบริการ
        7.ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้            ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
         8.ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความ                 สามัคคีในหมู่คณะ
         9.ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลป                         วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครอง                      ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รางวัลของครู




1 ความคิดเห็น:

  1. หัวบล็อกเกอร์มีความสวยงามมาก และพื้นหลังสีสันสดใส ทำให้ดูสบายตา ตัวหนังสื่อที่มีความสวยงาม อ่านง่าย ไม่ต้องใช้สายตาเยอะ ทำให้เวลาอ่านนั้น อ่านได้ง่ายขึ้น ทำให้เวลาเข้าไปดูแล้วหาเนื้อหาได้จากทุกส่วนของบล็อกตัวอักษรขนาดกำลังพอดีอ่านง่าย สบายตา เน้นหัวเรื่องด้วยตัวใหญ่สีสันสดใสมีวิดีโอ เพลงให้ชมให้ฟัง สวยค่ะ

    ตอบลบ